วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557



เทคนิคการรักษาสายตาสั้น



การรักษาสายตา

การรักษาสายตา 


การรักษาสายตา

เพื่อนๆ คงไม่ปฏิเสธนะว่า ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ เวลาใครมองเรา หรือเรามองใคร หากดูกันดีๆ แล้วสิ่งที่อยู่ภายในก็มักจะแสดงออกผ่านมาทางสายตานี่ล่ะ นอกจากนั้นแล้ว ความสามารถในการมองเห็นโลกอันสวยงามของเรา (ยังถือว่ายังสวยงามอยู่นะคะ ถึงแม้จะเพี้ยนไปบ้าง หรือถูกมือมนุษย์บางส่วนทำลายไปบ้าง แต่เราก็ยังช่วยกันกอบกู้ทัน) ก็ยังถือได้ว่าเป็นพรจากธรรมชาติที่ให้ติดตัวมากับเรา ดังนั้น เราควรรักษาถนอมความสามารถในการมองเห็นโลกที่สวยงามนี้เอาไว้ให้ได้นานๆ จริงไหมล่ะมาลองดูกันดีกว่าว่า เราจะรักษาสายตาของเราได้อย่างไรบ้าง

ตัวช่วยถนอมสายตา

ปัจจุบันนี้มีจอคอมพิวเตอร์พิเศษบางอย่างหรือฟิล์มสำหรับติดจอ คอมพิวเตอร์ ที่สามารถป้องกันรังสีแปลกปลอม นอกจากช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแสงที่สายตามองเห็น ออกไปได้ จอคอมพิวเตอร์ดีๆ พวกนี้คุ้มค่าต่อการถนอมสายตาของเรานะ เพราะบางคนนั้นมีชีวิตอยู่ใกล้กับคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงต่อวันเลยนะ

 การตรวจสายตาเป็นประจำจะช่วยถนอมสายตาได้ เพื่อนๆ อาจจะคิดว่าเกี่ยวกันอย่างไร สิ่งที่เกี่ยวข้องก็คือ หากเราพบสิ่งผิดปกตินิดๆ หน่อยๆ กับสายตา การใส่แว่นตาบางชนิดสักพักหนึ่งสามารถช่วยทำให้ดวงตาแข็งแรงและกลับมาในจุด ที่ไม่จำเป็นต้องใส่แว่นนั้นอีก แต่หากเราไม่ดูแลสายตาให้ดี สิ่งผิดปกติอาจจะรุนแรงมากขึ้นๆ จนกระทั่งถึงจุดที่ไม่สามารถแก้ไขให้กลับเป็นปกติได้

อยากให้เพื่อนๆ รักษาดวงตาของเราไว้ให้ดีนะ ก็เราแต่ละคนก็มีกันเพียงคู่เดียวเท่านั้น เป็นอะไรไปล่ะก็ไม่มีเปลี่ยนนะ ส่วนพวกเราที่สายตาดี หากมีโอกาสก็อย่าลืมช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็น มีปัญหาเรื่องสายตา จะเป็นบุญกุศลกับตัวเราต่อไปนะ

ปัญหาสายตาและการมองเห็น


ปัญหาสายตาและการมองเห็น


สายตาสั้น
สาย ตาสั้นเป็นปัญหาด้านสายตาที่พบได้โดยทั่วไป 25% ของผู้ใหญ่ทั่วโลกต้องประสบกับปัญหาสายตาสั้น ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมักจะมองเห็นภาพของวัตถุที่อยู่ไกลออกไปไม่ชัด เพราะการรวมแสงของภาพจะตกก่อนถึงจอประสาทตา แต่หากเลื่อนวัตถุนั้นๆ ให้เข้ามาใกล้ขึ้นเรื่อย ๆ หรือหากเราเดินเข้าไปใกล้วัตถุนั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ แสงที่ผ่านเข้ามาในดวงตาของเราจะตกกระทบใกล้กับจอประสาทตามากขึ้น จนสามารถโฟกัสภาพได้พอดี ทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้นได้ชัดเจน สาเหตุของสายตาสั้นเกิดจากการที่กระจกตาโค้งเกินไป หรือขนาดลูกตายาวเกินไป ส่งผลให้กำลังการรวมแสงของตามากเกินไปและตกกระทบก่อนถึงจอประสาทตา จึงทำให้มองภาพในที่ใกล้ไม่ชัด ภาวะสายตาสั้นจะตรวจพบในช่วงอายุ 8 – 12 ปี และจะสั้นขึ้นในช่วงวัยเรียนหรือวัยรุ่น และจะอยู่คงที่ในช่วงวัยทำงานต้นๆ แม้ว่าภาวะสายตาสั้นจะไม่เป็นอันตราย แต่หากมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้มีความเสี่ยงที่จอประสาทตาจะฉีกขาด
สายตายาวโดยกำเนิด
สายตา ยาวโดยกำเนิดเป็นอาการผิดปกติทางสายตาอีกรูปแบบหนึ่งเกิดจาก การที่กระจกตาแบนเกินไป หรือขนาดของลูกตาสั้นเกินไป ส่งผลให้กำลังการรวมแสงน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา การรวมแสงจึงตกหลังจอประสาทตา ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดทั้งใกล้และไกล อาจจะรู้สึกปวดหัวและปวดตาง่ายเมื่อต้องเพ่ง สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตายาวโดยกำเนิด อาจมีอาการแตกต่างกันออกไป มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุและระดับความผิดปกติของสายตา ซึ่งโดยปกติภาวะสายตายาวโดยกำหนดจะสามารถหายได้เองเพราะขนาดของลูกตาจะปรับ ยาวขึ้นตามธรรมชาติ
สายตายาวตามอายุ
สายตายาวตามอายุมักจะเกิดกับคน ที่มีอายุมากขึ้น อาการสายตายาวตามอายุเกิดจากเลนส์แก้วตาตามธรรมชาติเริ่มแข็งตัวมากขึ้น ประกอบกับกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ ขาดความยืดหยุ่นในการปรับให้เลนส์แก้วตาพองตัวขึ้นหรือแบนลงเพื่อช่วยปรับ โฟกัสในการมองระยะใกล้ได้ ทำให้มองเห็นภาพในระยะใกล้ได้ไม่ชัดเหมือนเดิม ซึ่งแตกต่างจากภาวะสายตายาวโดยกำเนิด
สายตาเอียง
สายตาเอียงเกิดจากการที่กระจกตามีความโค้งไม่เท่ากันในแต่ละแนว ส่งผลให้กำลังการรวมแสงของตาในแนว
ต่างๆ ไม่เท่ากัน ทำให้มองเห็นภาพซ้อน และไม่ชัดทั้งใกล้และไกล ผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงจะมองเห็นภาพซ้อนและไม่ชัดทั้งใกล้และไกล บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะด้วย ซึ่งสายตาเอียงนี้จะเกิดขึ้นได้พร้อมๆ กับภาวะสายตาสั้นหรือสายตายาวโดยกำเนิด