วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ดวงตาและการมอง




ดวง ตา เป็นอวัยวะสำคัญที่มีบทบาทและมีคุณค่ามากสำหรับเราทุกคน ประมาณกันว่า 70 – 80 % ของสิ่งที่เรารับรู้ และเรียนรู้ได้มาจากการมองเห็น การมองเห็นที่ชัดเจนจึงมีความสำคัญมากในการมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข สายตาปกติเป็นผลของการที่แสงโฟกัสผ่านกระจกตา (Cornea) และเลนส์แก้วตา (Crystalline Lens) ลงพอดีที่จอประสาทตา (Retina) ถ้ากำลังการรวมแสง (Refractive power) ของตาไม่พอดีกับความยาวลูกตา เป็นผลให้การรวมแสงของตาตกไม่พอดีที่จอประสาทตา เกิดภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive errors หรือ Ametropia)

 

ปัญหาสายตาและการมองเห็น


สายตาสั้น
สาย ตาสั้นเป็นปัญหาด้านสายตาที่พบได้โดยทั่วไป 25% ของผู้ใหญ่ทั่วโลกต้องประสบกับปัญหาสายตาสั้น ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมักจะมองเห็นภาพของวัตถุที่อยู่ไกลออกไปไม่ชัด เพราะการรวมแสงของภาพจะตกก่อนถึงจอประสาทตา แต่หากเลื่อนวัตถุนั้นๆ ให้เข้ามาใกล้ขึ้นเรื่อย ๆ หรือหากเราเดินเข้าไปใกล้วัตถุนั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ แสงที่ผ่านเข้ามาในดวงตาของเราจะตกกระทบใกล้กับจอประสาทตามากขึ้น จนสามารถโฟกัสภาพได้พอดี ทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้นได้ชัดเจน สาเหตุของสายตาสั้นเกิดจากการที่กระจกตาโค้งเกินไป หรือขนาดลูกตายาวเกินไป ส่งผลให้กำลังการรวมแสงของตามากเกินไปและตกกระทบก่อนถึงจอประสาทตา จึงทำให้มองภาพในที่ใกล้ไม่ชัด ภาวะสายตาสั้นจะตรวจพบในช่วงอายุ 8 – 12 ปี และจะสั้นขึ้นในช่วงวัยเรียนหรือวัยรุ่น และจะอยู่คงที่ในช่วงวัยทำงานต้นๆ แม้ว่าภาวะสายตาสั้นจะไม่เป็นอันตราย แต่หากมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้มีความเสี่ยงที่จอประสาทตาจะฉีกขาด
สายตายาวโดยกำเนิด
สายตา ยาวโดยกำเนิดเป็นอาการผิดปกติทางสายตาอีกรูปแบบหนึ่งเกิดจาก การที่กระจกตาแบนเกินไป หรือขนาดของลูกตาสั้นเกินไป ส่งผลให้กำลังการรวมแสงน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา การรวมแสงจึงตกหลังจอประสาทตา ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดทั้งใกล้และไกล อาจจะรู้สึกปวดหัวและปวดตาง่ายเมื่อต้องเพ่ง สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตายาวโดยกำเนิด อาจมีอาการแตกต่างกันออกไป มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุและระดับความผิดปกติของสายตา ซึ่งโดยปกติภาวะสายตายาวโดยกำหนดจะสามารถหายได้เองเพราะขนาดของลูกตาจะปรับ ยาวขึ้นตามธรรมชาติ
สายตายาวตามอายุ
สายตายาวตามอายุมักจะเกิดกับคน ที่มีอายุมากขึ้น อาการสายตายาวตามอายุเกิดจากเลนส์แก้วตาตามธรรมชาติเริ่มแข็งตัวมากขึ้น ประกอบกับกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ ขาดความยืดหยุ่นในการปรับให้เลนส์แก้วตาพองตัวขึ้นหรือแบนลงเพื่อช่วยปรับ โฟกัสในการมองระยะใกล้ได้ ทำให้มองเห็นภาพในระยะใกล้ได้ไม่ชัดเหมือนเดิม ซึ่งแตกต่างจากภาวะสายตายาวโดยกำเนิด
สายตาเอียง
สายตาเอียงเกิดจากการที่กระจกตามีความโค้งไม่เท่ากันในแต่ละแนว ส่งผลให้กำลังการรวมแสงของตาในแนว
ต่างๆ ไม่เท่ากัน ทำให้มองเห็นภาพซ้อน และไม่ชัดทั้งใกล้และไกล ผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงจะมองเห็นภาพซ้อนและไม่ชัดทั้งใกล้และไกล บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะด้วย ซึ่งสายตาเอียงนี้จะเกิดขึ้นได้พร้อมๆ กับภาวะสายตาสั้นหรือสายตายาวโดยกำเนิด






ปัญหาเกี่ยวกับสายตา


สาย ตาปกติ เป็นผลของการที่แสงโฟกัสผ่านกระจกตา (Cornea) และเลนส์แก้วตา (Crystalline Lens) ลงพอดีที่จอประสาทตา (Retina) ทำให้ภาพที่เรามองเห็นมีความคมชัด ถ้ากำลังการรวมแสง (Refractive power) ของตาไม่พอดีกับความยาวลูกตา เป็นผลให้การรวมแสงของตาตกไม่พอดีที่จอประสาทตา เกิดภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive errors หรือ Ametropia) ซึ่งอาจแยกประเภทได้ดังนี้
1. สายตาสั้น (Near-sightedness หรือ Myopia)
สาย ตาสั้นเกิดจากกำลังการรวมแสงของตามากเกินไป เมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา อาจเกิดจากการที่กระจกตาโค้งมากเกินไป หรือขนาดลูกตายาวเกินไป เมื่อมองวัตถุที่อยู่ไกลแสงรวมก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน ในทางตรงกันข้ามแสงจากวัตถุที่อยู่ใกล้รวมใกล้จอประสาทตา ทำให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจนกว่า ผู้ที่มีสายตาสั้นสามารถมองใกล้ได้ชัดกว่ามองไกล การแก้ไขปัญหาสายตาสั้นสามารถทำได้โดยใช้เลนส์เว้าช่วยลดกำลังการรวมแสงที่ มีมากเกินไปเพื่อให้สามารถมองไกลได้ดี
ระดับความสั้นของสายตาค่าสายตาสั้น+เอียง
1. กลุ่มสายตาสั้นระดับต่ำ

2. กลุ่มสายตาสั้นระดับปานกลาง

3. กลุ่มสายตาสั้นระดับสูง
สั้น 600 หรือน้อยกว่า

สั้น 600 ถึง 1000

สั้นมากกว่า 1000
ระดับความสั้นของสายตา แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
สายตาสั้น (Near-sightedness หรือ Myopia)
2. สายตายาวโดยกำเนิด (Far-sightedness, Hypermetropia หรือ Hyperopia)
สาย ตายาวโดยกำเนิด เกิดจากกำลังการรวมแสงของตาน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา อาจเกิดจากการที่กระจกตาแบนเกินไป หรือขนาดลูกตาสั้นไป แสงถึงจอประสาทตาก่อนรวมเป็นจุดภาพจะไม่ชัดทั้งใกล้และไกล ผู้ที่มีสายตายาวโดยกำเนิดเล็กน้อย สามารถมองไกลได้ดี แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น หรือมีการเพ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะหรือตาล้าได้ และสูญเสียการมองไกลทำให้มองไกลไม่ชัดเจน การแก้ไขภาวะสายตายาวโดยกำเนิด สามารถทำได้โดยใช้เลนส์นูนเพิ่มกำลังการรวมแสงเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ดี
สายตายาวโดยกำเนิด (Far-sightedness, Hypermetropia หรือ Hyperopia)
3. สายตาเอียง (Astigmatism)
สาย ตาเอียงเกิดจากกำลังการรวมแสงของตาในแนวต่างๆ ไม่เท่ากัน มักเกิดจากกระจกตาไม่กลม เปรียบได้กับผิวความโค้งด้านข้างของไข่ไก่ หรือลูกฟุตบอล ภาวะนี้มักเกิดร่วมกับภาวะสายตาสั้นหรือยาวโดยกำเนิด ทำให้เห็นภาพซ้อน ผู้ที่มีสายตาสั้นร่วมกับสายตาเอียง จะยังคงมองใกล้ได้ดีกว่ามองไกล แต่ภาพที่เห็นจะไม่ชัดเจนแม้ว่าจะใกล้ก็ตาม การแก้ไขสายตาเอียงโดยการใช้แว่นสายตา จะต้องใช้เลนส์ชนิดพิเศษเรียกว่า cylindrical lens เพื่อใช้ปรับกำลังการรวมแสงที่แตกต่างกันในระยะใกล้และไกล
สายตาเอียง (Astigmatism)
4. สายตายาวตามอายุ (Presbyopia)
เมื่อ มีอายุ 38 ปี คนทั่วไปซึ่งเคยมองเห็นได้ดีทั้งใกล้และไกล โดยไม่ต้องใช้แว่น จะเริ่มสังเกตว่าการมองใกล้เริ่มเป็นปัญหาสายตายาวตามอายุ เกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการมองใกล้ ซึ่งต่างจากสายตายาวโดยกำเนิดตรงที่ สายตายาวตามอายุจะมีปัญหาในการมองใกล้เท่านั้น ส่วนสายตายาวโดยกำเนิดจะมีปัญหาทั้งการมองใกล้และมองไกล เพราะฉะนั้นผู้ที่มีทั้งสายตายาวโดยกำเนิดและสายตายาวตามอายุ จำเป็นต้องใช้แว่นเพื่อใช้มองทั้งใกล้และไกล


การรักษาสายตา 


การรักษาสายตา

เพื่อนๆ คงไม่ปฏิเสธนะคะว่า ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ เวลาใครมองเรา หรือเรามองใคร หากดูกันดีๆ แล้วสิ่งที่อยู่ภายในก็มักจะแสดงออกผ่านมาทางสายตานี่ล่ะค่ะ นอกจากนั้นแล้ว ความสามารถในการมองเห็นโลกอันสวยงามของเรา (ยังถือว่ายังสวยงามอยู่นะคะ ถึงแม้จะเพี้ยนไปบ้าง หรือถูกมือมนุษย์บางส่วนทำลายไปบ้าง แต่เราก็ยังช่วยกันกอบกู้ทันนะคะ) ก็ยังถือได้ว่าเป็นพรจากธรรมชาติที่ให้ติดตัวมากับเรา ดังนั้น เราควรรักษาถนอมความสามารถในการมองเห็นโลกที่สวยงามนี้เอาไว้ให้ได้นานๆ จริงไหมล่ะคะ มาลองดูกันดีกว่าว่า เราจะรักษาสายตาของเราได้อย่างไรบ้าง

ศัตรูตัวร้าย

ศัตรูสำคัญมากๆ อย่างหนึ่งของสายตาก็คือแสงแดดค่ะ เช่นเดียวกับผิวของเรา ดวงตาของเราสามารถเสียหายได้จากรังสีเหนือม่วงหรือยูวี (UV - Ultra Violet rays) ที่มาจากดวงอาทิตย์ทั้งในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งและวันที่มีเมฆครึ้ม รังสียูวีก็สามารถทะลุผ่านลงมาทำร้ายสายตาของเราได้ เราจึงควรสวมแว่นกันแดดเสมอเมื่ออยู่กลางแจ้ง และแน่นอนที่สุดนะคะที่เราจะต้องเลือกแว่นกันแดดที่สามารถป้องกันรังสียูวี ได้ดีด้วยค่ะ ถ้าเลือกแต่สวยอย่างเดียวแต่ไม่มีประโยชน์ด้านการป้องกันรังสี ก็จะได้แต่สวยอย่างเดียว ไหนๆ จะเลือกแล้วก็เลือกที่สวยด้วยมีประโยชน์ด้วยดีกว่า แว่นกันแดดที่มีสีเข้มๆ อาจจะไม่ได้กันรังสียูวีก็ได้ เพื่อนๆ ลองเลือกแว่นตากันแดดจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ ที่มีป้ายบอกว่าสามารถป้องกันรังสียูวีได้ด้วย ก็จะเป็นทางเลือกที่ฉลาดกว่าของสาวๆ เรา อ่อ.. แล้วที่สำคัญ ซื้อแล้วต้องใส่ด้วยนะคะ ถึงจะป้องกันรังสียูวีได้ค่ะ

การจ้องมอง

ทุกวันนี้เราต้องทำกิจกรรมอะไรหลายอย่างมากที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลา นานๆ ไม่ว่าการอ่านหนังสือ การใช้คอมพิวเตอร์ การดูทีวี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นสาเหตุทำร้ายสายตาของเราได้ หากเพื่อนๆ ต้องทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเป็นเวลานานๆ ควรจะให้สายตาได้พักบ้าง อย่าจ้องมองอะไรเป็นเวลานานๆ การพักสายตาคือการละสายตาออกจากสิ่งนั้นแล้วมองไปยังอะไรอย่างอื่นที่ไกลออก ไป และมองสิ่งต่างๆ รอบตัวไปมา เพื่อให้สายตาได้พักผ่อนบ้างและไม่เกิดอาการล้ามากเกินไปค่ะ

ตัวช่วยถนอมสายตา

ปัจจุบันนี้มีจอคอมพิวเตอร์พิเศษบางอย่างหรือฟิล์มสำหรับติดจอ คอมพิวเตอร์ ที่สามารถป้องกันรังสีแปลกปลอม นอกจากช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแสงที่สายตามองเห็น ออกไปได้ จอคอมพิวเตอร์ดีๆ พวกนี้คุ้มค่าต่อการถนอมสายตาของเรานะคะ เพราะบางคนนั้นมีชีวิตอยู่ใกล้กับคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงต่อวันเลยนะคะ

การตรวจสายตา

การตรวจสายตาเป็นประจำจะช่วยถนอมสายตาได้ เพื่อนๆ อาจจะคิดว่าเกี่ยวกันอย่างไร สิ่งที่เกี่ยวข้องก็คือ หากเราพบสิ่งผิดปกตินิดๆ หน่อยๆ กับสายตา การใส่แว่นตาบางชนิดสักพักหนึ่งสามารถช่วยทำให้ดวงตาแข็งแรงและกลับมาในจุด ที่ไม่จำเป็นต้องใส่แว่นนั้นอีก แต่หากเราไม่ดูแลสายตาให้ดี สิ่งผิดปกติอาจจะรุนแรงมากขึ้นๆ จนกระทั่งถึงจุดที่ไม่สามารถแก้ไขให้กลับเป็นปกติได้

อยากให้เพื่อนๆ รักษาดวงตาของเราไว้ให้ดีนะคะ ก็เราแต่ละคนก็มีกันเพียงคู่เดียวเท่านั้น เป็นอะไรไปล่ะก็ไม่มีเปลี่ยนนะคะ ส่วนพวกเราที่สายตาดี หากมีโอกาสก็อย่าลืมช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็น มีปัญหาเรื่องสายตา จะเป็นบุญกุศลกับตัวเราต่อไปนะคะ




                                                         เทคนิคการรักษาสายตาสั้น

                                             

                                                       การรักษาภาวะสายตาผิดปกกติ



    

ดูแลดวงตาของ คุณ ให้ดีน่ะคับ