ตาบอดสี เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ sex linked ทำให้พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 10 ต่อ1ส่วนใหญ่จะบอดสี แดง-เขียว พบรองลงมาได้แก่ น้ำเงิน-เหลือง คนที่บอดสี แดง-เขียวมักจะบอดสี น้ำเงิน-เหลืองด้วย
อาการ และการรักษา
ในรายที่เป็นไม่รุนแรงอาจจะไม่มีอาการ ในรายที่เป็นรุนแรงผู้ปกครองอาจจะสังเกตพบตอนเป็นเด็ก ยังไม่มีการรักษาเฉพาะเป็นแล้วจะเป็นตลอดชีวิต บางประเทศอาจจะมีข้อห้ามในการเป็นนักบิน
|
การตรวจตาบอดสี
โดยการให้อ่านกระดาษซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข หรือหนังสือคนตาปกติจะบอกเลขได้
หลายคนคุ้นเคยกับคำว่าต้อกระจกมากกว่าต้อหิน ต้อกระจกเป็นภาวะที่เลนส์ตาเราขุ่นมัวเหมือนกระจกฝ้าทำให้เห็นไม่ชัด ส่วนต้อหินไม่ได้หมายความว่าเลนส์ตาเราจะแข็งเหมือนหิน แต่หมายถึงการเสื่อมของประสาทตาจากความดันในตาซึ่งสูงขึ้น หรือบางคนความดันตาก็ไม่ได้สูง |
การทำงานของตา
การที่จะเข้าใจโรคต้อหินจะต้องเข้าใจถึงโครงสร้างของตา ตาของเรามีลักษณะกลม มีเปลือกตาขาว (sclera ) หุ้ม
อยู่ภายนอก ส่วนหน้าของลูกตาซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็น จะมีเยื่อบางๆหุ้มอยู่เรียกเยื่อนี้ว่า conjunctiva ถัดจากนั้นเป็นชั้นที่เรียกว่า กระจกตา (cornea) เป็นทางให้แสงผ่านชั้นนี้หากขุ่นมัวเราสามารถผ่าตัดเปลี่ยนได้ ถัดจากนั้นก็จะเป็นรูม่านตา pupil ซึ่งจะปรับปริมาณแสงที่ผ่านถ้าสว่างมากรูม่านตาก็จะเล็ก หากมือรูม่านตาก็จะกว้างเพื่อให้แสงผ่านเข้าตามากขึ้น แสงจะผ่านไปเลนส์ lens และไปที่จอรับภาพ retina ในตาจะมีน้ำเลี้ยงเรียก aqueous humor ซึ่งเหล่าเลี้ยงเลนส์ กระจกตา และจะถูกดูดซึมตามท่อข้าง iris muscle ทำให้มีความสมดุลของน้ำในตา
น้ำตาและน้ำเลี้ยงตาเหมือนกันหรือไม่
น้ำตาเป็นน้ำที่สร้างจากต่อมน้ำตาและหล่อเลี้ยงภายนอก ส่วนน้ำเลี้ยงตาจะอยู่ในลูกตาไม่ออกสู่ภายนอก น้ำเลี้ยงตาจะหล่อเลี้ยง กระจกตา เลนส์และม่านตา
ต้อหินคืออะไร
ต้อหินเป็นภาวะที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นและมีการเสื่อมของประสาทต าและสูญเสียการมองเห็น ความดันในตาที่สูงจะกดดันเส้นประสาทตา (optic nerve)ให้เสื่อม ความดันสูงเป็นเวลานานประสาทตาก็จะเสื่อมทำให้สูญเสียการมองเห็น การสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา ส่วนตรงกลางภาพยังเห็นชัด หากไม่ได้รักษาการมองเห็นจะจะได้ภาพเล็กลง การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆเป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว โดยมากมักจะเป็นสองข้าง อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน
การมองเห็นของคนปกติ
|
การมองเห็นของคนเป็นต้อหิน
|
เมื่อคนเริ่มจะสูงอายุก็จะเริ่มเกิดการเสื่อมขึ้นตามอวัยวะต่าง เช่นข้อเสื่อม หากเกิดที่สมองก็เกิดสมองเสื่อม เกิดที่หูก็หูตึง เกิดที่ระบบสืบพันธ์ก็เกิดกามตายด้าน หากเกิดที่ตาโดยเฉพาะเลนส์แก้วตาเรียกต้อกระจก
โรคต้อกระจก
แก้วตา (Lens) เป็นเลนส์นูนใสอยู่หลังม่านตา ทำหน้าที่ร่วมกับ กระจกตา ในการหักเหแสงุให้ตกโฟกัสที่จอประสาทตา จึงทำให้เกิดการมองเห็น
|
ต้อกระจกหรือที่เรียกว่า Cataract เกิดจากเลนส์แก้วตาเสื่อม ทำให้เลนส์แก้วตาขุ่นมัวทำให้มองไม่ชัด อ่านหนังสือไม่ชัด แก้วตาที่ขุ่นลงนี้ ส่งผลให้กำลังหักเหของแสงผิดไป ตลอดจนขัดขวางไม่ให้แสงเข้าตา ผู้นั้นจึงมองภาพเห็นภาพไม่ชัด นั่นคือโรคที่เรียกกันว่า “ต้อกระจก”
เลนส์ตาใส
|
เลนส์ตาขุ่น
|
อาการของต้อกระจก
อาการและอาการแสดงของต้อกระจกมีดังนี้
- มองไม่ชัดเป็นอาการเด่นของต้อกระจกคือ ตาค่อยๆมัวลงอย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการอื่น อาการตามัวจะเป็นมาขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า เช่น เมื่อออกแดด แต่กลับมองเห็นเกือบเป็นปกติในที่มืดสลัวๆ หรือเวลาพลบค่ำ
- เห็นภาพซ้อนแม้ว่าจะมองด้วยตาข้างเดียวเนื่องจากการหักเหของแสงไม่ลงที่จอประสาท
- เห็นวงรอบแสงไฟ
- อ่านหนังสือต้องใช้แสงจ้าๆ
- ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย
- เห็นฝ้าขาวบริเวณกลางรูม่านตาในผู้ที่ต้อกระจกสุกเต็มที่แล้ว
การมองเห็นของตาปกติ
|
การมองเห็นของคนตาเป็นต้อกระจก
|
สาเหตุ
การมองเห็นของคนปกติ
|
การมองเห็นของคนที่เป็นต้อกระจก แสงผ่านเข้าจอรับภาพน้อย
|
แสงจะผ่านจากภายนอกเข้าสู่เลนส์กระจกตา ม่านตาและเลนส์ตา เลนส์ตาทำหน้าที่ปรับให้แสงตกที่จอรับภาพทำให้ภาพชัด คนที่เป็นต้อกระจกเลนส์ตาจะขุ่นมัว ทำให้แสงไม่สามารถผ่านไปยังจอรับภาพได้อย่างสะดวกทำให้ภาพไม่ชัด
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ อายุพบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีจะมีต้อกระจกอยู่แล้วบางส่วน มักพบแก้วตาขุ่นเล็กๆน้อยๆ หรือเป็นต้อกระจกระยะต้นๆ อาจพบจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่จากวัยสูงอายุ เช่น
- โรคเบาหวาน
- ประวัติครอบครัวเป็นต้อกระจก
- เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตา
- การใช้ยาบางชนิดเช่น steroid
- ติดสุรา
- เจอแสงแดดมาก
- ต้องสัมผัสรังสีปริมาณมาก
- สูบบุหรี่
- เด็กที่ขาดอาหาร
- เลนส์ตาได้รับการกระทบกระเทืนอย่างแรง เช่นถูกกระแทก
- การใช้ยา steroid เพื่อรักษาโรค
การคัดกรอง
- อายุ 40-65 ปีให้ตรวจตาทุก 2-4 ปี
- อายุมากกว่า 65 ปี ให้ตรวจทุก 1-2 ปี
- ตรวจตาเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง
การรักษา
การรักษาขึ้นกับสภาพของต้อกระจกกล่าวคือ
- ต้อที่เพิ่งจะเริ่มเป็นและเป็นไม่มาก ต้องรอให้ต้อสุกเสียก่อน ระหว่างนี้ก็ให้ตรวจตาตามแพทย์นัด
- ต้อที่แก่หรือสุกก็ผ่าตัดซึ่งไม่จำเป็นต้องรีบร้อน หากเตรียมตัวพร้อมก็ผ่าตัด
- ต้ที่สุกและเริ่มมีโรคแทรกซ้อนให้ทำการผ่าตัด
การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัดเอาเลนส์ที่ขุ่นมัวออก วิธีการผ่าตัดทำได้ 2 วิธี
- Phacoemulsification เป็นวิธีที่นิยมทีสุดโดยการเจาะรูเล็กๆแล้วใช้เครื่อง ultrasound สลายเลนส์และดูดออก
- Extracapsular โดยการผ่าตัดเป็นแผลเล็กๆแล้วเอาเลนส์ที่เสียออก
หลังจากเอาเลนส์ออกแล้วแพทย์ก็จะใส่แก้วตาเทียมเข้าแทนที่อันเดิม หลังผ่าตัดอาจจะมีอาการระคายเคืองตา อาจจะต้องใส่เครื่องป้องกันการขยี้ตา 1-2 วัน หลังผ่าตัก 1 วันก็จะเห็นชัดขึ้นแต่จะชัดที่สุดคือหลังผ่า 4 สัปดาห์และมีความจำเป็นต้องสวมแว่นตา หลังผ่าตัดหากมีอาการเหล่านี้ให้พบแพทย์
- ตามองไม่เห็น
- ปวดตาตลอด
- ตาแดงมากขึ้น
- เห็นแสงแปล็บๆ
- คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะและไอ
การป้องกัน
- งดสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์
โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา (conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง |
อาการของโรคตาแดง
แพทย์จะถามถึงยาที่ท่านรับประทาน ยาหยอดตา เลนส์ น้ำยาล้างตา รยะเวลาที่เป็น อาการที่สำคัญคือ
- คันตา เป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ อาการคันอาจจะเป็นมากหรือน้อย คนที่เป็นโรคตาแดงโดยที่ไม่มีอาการคันไม่ใช่เกิดจากโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นอาจจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเช่นหอบหืด ผื่นแพ้
- ขี้ตา ลักษณะของขี้ตาก็ช่วยบอกสาเหตุของโรคตาแดง
- ขี้ตาใสเหมือนน้ำตามักจะเกิดจากไวรัสหรือโรคภูมิแพ้
- ขี้ตาเป็นเมือกขาวมักจะเกิดจากภูมิแพ้หรือตาแห้ง
- ขี้ตาเป็นหนองมักจะร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้าทำให้เปิดตาลำบากสาเหตุมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- ตาแดงเป็นข้างหนึ่งหรือสองข้าง
- เป็นพร้อมกันสองข้างโดยมากมักจะเกิดจากภูมิแพ้
- เป็นข้างหนึ่งก่อนแล้วค่อยเป็นสองข้าง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อเช่นแบคทีเรีย ไวรัส หรือ Chlamydia
- ผู้ที่มีโรคตาแดงข้างเดียวแบบเรื้อรัง ชนิดนี้ต้องส่งปรึกาแพทย์
- อาการปวดตาหรือมองแสงจ้าไม่ได้ มักจะเกิดจากโรคชนิดอื่นเช่นต้อหิน ม่านตาอักเสบเป็นต้น ดังนั้นหากมีตาแดงร่วมกับปวดตาหรือมองแสงไม่ได้ต้องรีบพบแพทย์
- ตามัว แม้ว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์
- ประวัติอื่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา น้ำตาเทียม เครื่องสำอาง โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ
การตรวจร่างกาย
- คุณลองคลำต่อมน้ำเหลืองรอบหู หากคลำได้อาจจะเป็นโรคติดเชื้อไวรัส หรือจากสัมผัสสารระคายเคือง ส่วนเชื้อแบคทีเรียมักจะคลำไม่ได้ต่อมน้ำเหลือง
- ในรายที่เป็นไม่มากไม่ต้องตรวจอะไรเพิ่มเติม
- ในรายที่เป็นรุนแรง เป็นๆหายๆ หรือเป็นเรื้อรังควรจะต้องตรวจเพาะเชื้อจากขี้ตา
- การนำขี้ตามาย้อมหาตัวเชื้อก็พอจะบอกสาเหตุของโรคตาแดง
การป้องกันโรคตาแดง
- อย่าใช้เครื่องสำอางร่วมกับคนอื่น
- อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
- ล้างมือบ่อยๆ อย่าเอามือเข้าตา
- ใส่แว่นตากันถ้าต้องเจอสารเคมี
- อย่าใช้ยาหยอดตาของผู้อื่น
- อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน
- ยาเมื่อไม่ได้ใช้ให้ทิ้ง
- อย่าสัมผัสมือ
- เช็ดลูกบิดด้วยน้ำสบู่เพื่อฆ่าเชื้อโรค
การรักษาตาแดงด้วยตัวเอง
- ประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ10-15 นาที
- ล้างมือบ่อยๆ
- อย่าขยี้ตาเพราะจะทำให้ตาระคายมากขึ้น
- ใส่แว่นกันแดด หากมองแสงสว่างไม่ได้
- อย่าใส่ contact lens ช่วยที่มีตาแดง
- เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน เปลี่ยนหมอนทุก 2 วัน
หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์
- ตามัวลง
- ปวดตามากขึ้น
- กรอกตาแล้วปวด
- ไข้
- ให้ยาไปแล้ว 48 ชั่วโมงไม่ดีขึ้น
- น้ำตายังไหลอยู่แม้ว่าจะได้ยาครบแล้ว
- แพ้แสงอย่างมาก
การหยอดยาหยอดตา
- ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง
- ดึงหนังตาล่างลง
- ตาเหลือกมองเพดาน
- หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง
- ปิดตาและกรอกตาไปมาเพื่อให้ยากระจาย การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา
- เช็ดยาที่ล้นออกมา
- ล้างมือหลังหยอดเสร็จ
น้ำตาของคนเรามี 3 ชั้น ชั้นในสุดที่ติดกับแก้วตาจะเป็นเมือก ชั้นกลางเป็นน้ำ เป็นตัวให้อาหารและออกซิเจนหล่อเลี้ยงแก้วตา ส่วนชั้นนอกเป็นไขมันป้องกันการระเหยของน้ำตา น้ำตาของคนสร้างต่อมน้ำตาของหนังตาบน เวลาเรากระพริบตา น้ำตาจะถูกขับออกมาเคลือบตา น้ำตาที่หลั่งออกมาจากการกระพริบตาออกครั้งละไม่มาก น้ำตาไหลจากเสียใจหรือเกิดจากการระคายเคืองจะออกเป็นปริมาณมาก |
สาเหตุของตาแห้ง
- เป็นธรรมชาติของคนสูงอายุที่มีการขับน้ำตาออกมาน้อยโดยเฉพาะผู้หญิงจะพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย
- สภาพอากาศ ร้อน อากาศแห้ง ลมแรง
- ลมจากเครื่องปรับอากาศ ควันบุหรี่
- หารอ่านหนังสือหรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แนะนำให้หยุดพักตาและกระพริบตาบ่อยๆ
- การใส่ contact lens
- การขาดวิตามิน เอ
อาการของโรคตาแห้ง
- เคืองตา
- แสบตา
- ตาแดง
- ตามัว เมื่อกระพริบตามองเห็นชัดขึ้น
- น้ำตาไหลมาก
- เคืองตาหลังจากใช้งานเป็นเวลานาน
การรักษา
- การใช้น้ำตาเทียมเป็นการลดอาการเท่านั้น
- ปิดท่อระบายน้ำตา ทำให้มีน้ำตาหล่อเลี้ยงตาเพิ่มขึ้น
- ให้ดื่มน้ำมากๆ เวลาอ่านหนังสือหรือทำงานกับคอมพิวเตอร์นานให้กระพริบตาบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการขยี้ตา
อาการ
ผู้ป่วยจะมาด้วยมีก้อนที่เปลือกตา และมีอาการปวดหนังตา กรอกตาหรือหลับตาจะทำให้ปวด บางคนมีอาการบวมที่เปลือกตา บางคนบวมมากจะตาปิด บางคนหนองไหลออกจากเปลือกตา หากหนองแตกในตาจะทำให้มีขี้ตาเป็นสีเขียว
|
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus เป็นส่วนใหญ่ หากไม่รักษาหนองอาจจะหายเองได้หรืออาจจะแตกออก หรืออาจเกิดเป็นก้อนที่เรียกว่า chalazionซึ่งอาจจะมีขนาดใหญ่จนรบกวนการมองเห็น และมักจะพบตากุ้งยิงมากในคนไข้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้
- โรคเบาหวาน
- โรคเรื้อรังอื่น
- ผู้ที่มีหนังตาอักเสบเรื้อรัง
- ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
หากท่านมีปัญหาก้อนที่ตาและมีอาการปวดท่านควรจะไปพบจักษุแพทย์ซึ่งจะตรวจร่างกายอย่างละเอียด
- แพทย์จะตรวจเปลือกตาทั้งด้านในและด้านนอกของเปลือกตาเพื่อแยกว่าเป็น internal หรือ external hordeolum
- ท่านอาจจะพบตาท่านแดงเนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุตา conjunctivitis
- ต่อมน้ำเหลืองที่หน้าหูมักจะไม่โต
เมื่อมองจากข้างนอก
|
เมื่อมองที่ด้านในเปลือกตา
|
External hordeolum
|
ก้อนchalazion
|
การรักษา
การผ่าระบายหนอง
- ใช้มีดเบอร์เล็กๆหรือเข็มเจาะบริเวณหัวหนอง โดยมากให้เจาะจากด้านในของเปลือกตา เนื่องจากว่าการเจาะจากด้านนอกจะทำให้เกิดแผล นอกเสียจากว่าหัวหนองนั้นอยู่ใกล้เปลือกตาด้านนอก
- หากมีหัวหนองหลายแห่งก็ต้องเจาะหลายที่
- หากเจาะจากด้านในของเปลือกตาให้เจาะตั้งฉากกับเปลือกตา หากเจาะจากด้านนอกให้เจาะขนานกับเปลือกตาเพื่อป้องกันการดึงรั้งของแผล
- ห้ามกรีดขอบหนังตาเพราะจะไปทำลายต่อมขนตา
- ไม่ควรเจาะทั้งด้านในและด้านนอกพร้อมกันเพราะจะทำให้เกิดเป็นรูเรียก fistula
- Bacitracin ophthalmic ointment ในรายที่เป็นมากให้ป้ายแผลวันละ 4-6 ครั้งเป็นเวลา 7 วันในรายที่เป็นน้อยป้ายวันละ 2-3 ครั้ง
- Tobramycin ophthalmic solution หยอดตาวันละ3-4 ครั้ง
- Erythromycin ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารข้อควรระวังในการใช้นาชนิดนี้ได้แก่ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับไม่ควรใช้ร่วมกับยา theophyllin, digoxin, carbamazepine, cyclosporinewarfarin; lovastatin และ simvastatin ยานี้อาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง
- Dicloxacillin ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร
- Tetracycline ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้ง ข้อระวังหากรับยานี้ร่วมกับยารักษากระเพาะอาหารหรือยาระบายจะทำให้ลดการดูดซึมยานี้ ทำให้ระดับยาคุมกำเนิดลดลงอาจจะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ห้ามใช้ในคนท้อง
การดูแลตัวเอง
- ประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาทีวันละหลายครั้ง อาจจะใช้ผ้าห่อไข่ต้ม
- ห้ามบีบหรือเค้นเพื่อเอาหนองออก หากหนองแตกเองก็ให้ล้างบริเวณหนองด้วยน้ำต้มสุก
- ให้ล้างมือบ่อยๆ
- ให้หยอดหรือทายาตามสั่ง
- งดทาเครื่องสำอาง
- หลีกเลี่ยงการใส่ contact lenses
- หากไม่รักษาอาจจะทำให้เกิด chalazion ซึ่งจะทำให้เกิดแผลที่แก้วตา หรือความผิดปกติของหนังตา
- ขนตางอกผิดปกติ หรืออาจจะเกิดรู
- หากไม่รักษาอาจจะทำให้ตาอักเสบ
เป็นภาวะที่มีเลือดออกในวุ้นลูกตาเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดใหม ่เนื่องจากจอประสาทขาดเลือด หรือเกิดจากการฉีกขาดของเส้นเลือดเนื่องจากการกระแทก อาการที่สำคัญคือจะเห็นจุดดำลอยไปมา บางท่านตาจะมองไม่เห็น |
เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา
โครงสร้างของน้ำวุ้นลูกตา
น้ำวุ้นลูกตาประกอบไปด้วยน้ำร้อยละ 99 ส่วนที่เหลือเป็เกลือแร่ น้ำตาล และที่สำคัญคือ collagen และ hyaluronic acid ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้น้ำวุ้นลูกตาข้น น้ำวุ้นลูกตาจะเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของตา และทำหน้าที่ให้ตาคงรูป และเป็นทางผ่านของแสง ปกติน้ำวุ้นลูกตาจะไม่มีเซลล์ หรือเส้นเลือด
ทำไมถึงมีเลือดในน้ำวุ้นลูกตา
สาเหตุที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตามีด้วยกันสามสาเหตุ ได้แก่
- ความผิดปกติของเส้นเลือด โดยมากเกิดจากการที่มีเส้นเลือดเกิดใหม่ เนื่องจากจอรับภาพมีการขาดเลือด เช่น โรคเบาหวานขึ้นจอรับภาพ sickle anemia เส้นเลือดที่เกิดใหม่เหล่านี้ผนังไม่แข็งแรงทำให้มีการฉีกขาดและมีเลือดออกในวุ้นลูกตาได้
- มีการฉีกขาดของเส้นเลือดปรกติเนื่องจากมีแรงที่กระทำต่อเส้นเลือดที่จอรับภาพ เช่น มีการแยกตัวของนำวุ้นลูกตาออกจากจอรับภาพทำให้เส้นเลือดจอรับภาพฉีกขาด
- เลือดจากอวัยวะข้างเคียง เช่น เนื้องอกเป็นต้น
ผู้ที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตาจะมีอาการอะไรบ้าง
อาการของคนที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นคือ เห็นเศษลอยในตาข้างเดียวหรือตามองไม่เห็นโดยที่ไม่มีอาการปวด ในรายที่เริ่มเป็นหรือเป็นน้อยจะมีอาการเห็นเศษเนื้อลอยไปมา หรือเห็นเป็นใยแมงมุม อาจจะเห็นภาพเหมือนมีหมอก บางรายจะเห็นเป็นสีออกแดง
การวินิจฉัยไม่ยากแพทย์จะตรวจตาโดยละเอียด
- ตรวจการเห็นของตาทั้งสองข้าง
- ตรวจการตอบสนองต่อแสงของรูม่านตา pupil
- ใช้เครื่อง Slit lamp ตรวจตาซึ่งจะเห็นเลือด
- ใช้กล้องส่องเข้าในลูกตาจะพบเศษชิ้นเนื้อไม่พบรายละเอียดของจอรับภาพ
การรักษาเลือดออกวุ้นลูกตามีอะไรบ้าง
การรักษาขึ้นกับสาเหตุ หากเกิดจากจอรับภาพหลุดจากเส้นประสาทจะต้องผ่าตัดทันที หากจอรับภาพไม่หลุดก็อาจจะให้นอนพักศีรษะสูง และพิจารณาใช้ Laser ในกรณีที่เกิดจากการที่มีเส้นเลือดใหม่
จอประสาทตาลอกจากที่เคยอยู่ สาเหตุเกิดจากรูหรือรอยฉีกขาด หรือเกิดจากการดึงรั้งของผังผืด หรือการอักเสบทำให้มีน้ำเซาะจนจอประสาทลอก อาการที่สำคัญคือจะเห็นจุดดำลอยไปมา ร่วมกับการเห็นแสงเหมือนไฟแล็บ และมองไม่เห็นบางส่วนของภาพ |
จอประสาทตา
จอประสาทตา Retina เป็นชั้นในสุดของลูกตา ประกอบด้วยเซลหลายชนิดเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ มีหน้าที่รับแสงที่ผ่านเข้ามาจากภายนอก โดยผ่านกระจกตา เลนส์ตาที่ทำหน้าที่รวมแสง ให้ไปตกที่จอประสาทตา จากนั้นที่จอประสาทตา จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาทางเคมี เปลี่ยนสัญญาณแสง ให้กลายเป็นกระแสประสาท แล้วส่งไปตามเส้นประสาทตาคู่ที่2 เข้าสู่สมอง เพื่อแปลผลเป็นภาพต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบลูกตากับกล้องถ่ายรูป จอประสาทตาจะเทียบได้กับฟิล์ม ที่ทำหน้าที่รับภาพ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตา จึงมีผลทำให้การเห็นภาพผิดไป หรืออาจทำให้เสียการมองเห็นไปทั้งหมดก็ได้
จอประสาทตาลอก
หมายถึงภาวะที่เกิดการแยก หรือลอกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม โดยมีรูปแบบและสาเหตุการเกิดได้หลายประการ ได้แก่
- จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรู หรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา (rhegmatogenous retinal detachment) ทำให้มีน้ำไหลเข้าเกิดการแยกของจอประสาทตา สาเหตุมักเกิดจากการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงที่ตา จอประสาทตาเสื่อมในผู้ป่วยสายตาสั้น หรือเกิดรูขาดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ เป็นสาเหตุของจอประสาทตาลอกบ่อยที่สุด
- จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง (tractional retinal detachment) เกิดจากการดึงรั้งของพังผืดที่จอประสาทตาหรือในน้ำวุ้นตา ทำให้จอประสาทตาหลุดลอก พบไม่บ่อย มักพบในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอรับภาพระยะท้ายซึ่งมีเส้นเลือดงอกผิดปกติ ที่จอรับภาพ และมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของน้ำวุ้นลูกตา หรือจอประสาทตาอย่างรุนแรงจนเกิดชั้นพังผืด หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับอุบัติเหตุทำให้ลูกตาแตกหรือทะลุมาก่อน
- จอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาดที่จอตา (Exudative) เกิดจากการอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ทำให้มีน้ำรั่วซึมขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคคอรอยด์อักเสบ เนื้องอกที่จอประสาทตา หรือพบในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ ภาวะไตวาย เป็นต้น
ใครมีโอกาศเป็นโรคนี้สูง
จอประสาทลอกสามารถเกิดได้ทุกอายุ แต่จะพบบ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโอกาศเป็นมากได้แก่
- สายตาสั้นมาก
- เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน
- มีประวัติครอบครัวที่จอประสาทตาลอก
- ผ่าตัดต้อกระจก
- เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
- เป็นโรคตา เช่น retinoschisis, uveitis, degenerative myopia, or lattice degeneration
อาการของจอประสาทลอก
เริ่มต้นของผู้ป่วยที่มีจอประสาทตาลอก พบได้ตั้งแต่
- มองเห็นจุดดำลอยไปมาและเป็นมากขึ้น
- มองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ
- ภาพบางส่วนหายไป เป็นต้น
ดังนั้นผู้ที่มีอาการดังกล่าวจึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจจอประสาทตาโดยละเอียด ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากภาวะผิดปกติชนิดใด และต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีใด
- หากจักษุแพทย์ตรวจพบรูขาดที่จอประสาทตา และยังไม่มีจอประสาทตาลอก อาจให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์รอบรอยขาด
- หากพบมีการลอกตัวของจอประสาทตา การรักษาอาจมีตั้งแต่การฉีดกาซเข้าไปในตา การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา และการทำผ่าตัดน้ำวุ้นตา ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
เยื่อบุตาอักเสบอาจจะเกิดจากภูมิแพ้หรือเกิดจากการติดเชื้อโรคก็ได้ อาการทางภูมิแพ้มักจะเกิดที่ตาเนื่องจากตาเป็นอวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก เส้นเลือดเหล่านี้ตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ได้ง่าย และที่สำคัญตาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
|
เมื่อคุณได้รับสารก่อภูมิแพ้เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่น รังแคสัตว์ ยา ควันบุหรี่ สารภุมิแพ้เหล่านั้นจะละลายในน้ำตา และกลับสู่เยื่อบุตาซึ่งจะสร้างสารต่อต้านสารภูมิแพ้ที่เรียกว่า Antibody IgE เมื่อภูมิจับกับ antibody จะเกิดการหลั่งสารหลายอย่างทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้น ตาของคุณก็จะมีอาการเคือง แดงและมีน้ำตาไหล หนังตามักจะปกติ การมองเห็นจะปกติ และไม่แนะนำให้ใส่ contact lens เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย
ชนิดของเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้
Seasonal allergic conjunctivitis
- เป็นเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุด
- มักจะมีอาการน้ำมูกไหลร่วมด้วย
- อาการที่สำคัญคือ มีน้ำตาไหล เคืองตา
- มักจะเป็นกับตาสองข้าง
- อาการมักจะเป็นตามฤดูกาล
Perrennial allergic conjunctivitis
- เป็นการเกิดภูมิแพ้ที่เกิดจากสารภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นตลอดปี
- พบได้น้อยกว่าชนิดแรก
- อาการมักจะน้อกว่าชนิดแรก
Atopic Keratoconjuntivitis
- มักจะพบร่วมกับผื่น atopic ของผิวหนังที่หนังตา และหน้า
- อาการที่พบร่วมคือ ตาแดง เคืองตา คัน น้ำตาไหล
ลักษณะสำคัญที่บ่งบอกเยื่อบุตาอักเสบเกิดจากภูมิแพ้
- อาการคันในทาเป็นอาการที่สำคัญ หากติดเชื้อจะเป็นอาการปวดแสบร้อน
- น้ำตาจะเป็นน้ำใส หากติดเชื้อจะเป็นเมือกหรือหนอง
- มักจะมีการอักเสบของเปลือกตา
- ผู้ป่วยมรประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว
การป้องกัน
ควรจะหลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ เช่นไม่ไปเดินในที่มีเกสรดอกไม้ ไม่ไปในที่มีควันบุหรี่ กอฟาง
การดูแลตัวเอง
เมื่อเกิดอาการเคืองตาและสงสัยว่าเกิดจากภูมิแพ้ควรจะหลีกเลี่ยงจากสิ่งก่อภูมิแพ้ทันที อาจจะซื้อน้ำตาเทียมซึ่งจะทำให้ลดอาการบวมและชะล้างสารก่อภูมิแพ้ ใช้ผ้าเย็นปิดตาเพื่อลดอาการบวม อาจจะซื้อยาแก้แพ้รับประทาน หากดูแลตัวเองแล้วยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ซึ่งจะให้ยาหยอดตาแก้แพ้
- หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้
- บางครั้งอาจจะต้องใช้น้ำสะอาดล้างตา
- ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม
การใช้ยาเพื่อรักษา
- ใช้ยาแก้แพ้ antihistamine ซึ่งใช้ได้ทั้งชนิดยาหยอดตาและยารับประทาน
- ยาหยอดตาเพื่อให้หลอดเลือดหดตัวเพื่อลดอาการบวมของเยื่อบุตา
- ยาหยอดตา steroid
จอประสาทตาลอก Retina detachment
จอประสาทตาลอกจากที่เคยอยู่ สาเหตุเกิดจากรูหรือรอยฉีกขาด หรือเกิดจากการดึงรั้งของผังผืด หรือการอักเสบทำให้มีน้ำเซาะจนจอประสาทลอก อาการที่สำคัญคือจะเห็นจุดดำลอยไปมา ร่วมกับการเห็นแสงเหมือนไฟแล็บ และมองไม่เห็นบางส่วนของภาพ |
จอประสาทตา
จอประสาทตา Retina เป็นชั้นในสุดของลูกตา ประกอบด้วยเซลหลายชนิดเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ มีหน้าที่รับแสงที่ผ่านเข้ามาจากภายนอก โดยผ่านกระจกตา เลนส์ตาที่ทำหน้าที่รวมแสง ให้ไปตกที่จอประสาทตา จากนั้นที่จอประสาทตา จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาทางเคมี เปลี่ยนสัญญาณแสง ให้กลายเป็นกระแสประสาท แล้วส่งไปตามเส้นประสาทตาคู่ที่2 เข้าสู่สมอง เพื่อแปลผลเป็นภาพต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบลูกตากับกล้องถ่ายรูป จอประสาทตาจะเทียบได้กับฟิล์ม ที่ทำหน้าที่รับภาพ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตา จึงมีผลทำให้การเห็นภาพผิดไป หรืออาจทำให้เสียการมองเห็นไปทั้งหมดก็ได้
จอประสาทตาลอก
หมายถึงภาวะที่เกิดการแยก หรือลอกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม โดยมีรูปแบบและสาเหตุการเกิดได้หลายประการ ได้แก่
- จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรู หรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา (rhegmatogenous retinal detachment) ทำให้มีน้ำไหลเข้าเกิดการแยกของจอประสาทตา สาเหตุมักเกิดจากการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงที่ตา จอประสาทตาเสื่อมในผู้ป่วยสายตาสั้น หรือเกิดรูขาดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ เป็นสาเหตุของจอประสาทตาลอกบ่อยที่สุด
- จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง (tractional retinal detachment) เกิดจากการดึงรั้งของพังผืดที่จอประสาทตาหรือในน้ำวุ้นตา ทำให้จอประสาทตาหลุดลอก พบไม่บ่อย มักพบในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอรับภาพระยะท้ายซึ่งมีเส้นเลือดงอกผิดปกติ ที่จอรับภาพ และมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของน้ำวุ้นลูกตา หรือจอประสาทตาอย่างรุนแรงจนเกิดชั้นพังผืด หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับอุบัติเหตุทำให้ลูกตาแตกหรือทะลุมาก่อน
- จอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาดที่จอตา (Exudative) เกิดจากการอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ทำให้มีน้ำรั่วซึมขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคคอรอยด์อักเสบ เนื้องอกที่จอประสาทตา หรือพบในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ ภาวะไตวาย เป็นต้น
ใครมีโอกาศเป็นโรคนี้สูง
จอประสาทลอกสามารถเกิดได้ทุกอายุ แต่จะพบบ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโอกาศเป็นมากได้แก่
- สายตาสั้นมาก
- เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน
- มีประวัติครอบครัวที่จอประสาทตาลอก
- ผ่าตัดต้อกระจก
- เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
- เป็นโรคตา เช่น retinoschisis, uveitis, degenerative myopia, or lattice degeneration
อาการของจอประสาทลอก
เริ่มต้นของผู้ป่วยที่มีจอประสาทตาลอก พบได้ตั้งแต่
- มองเห็นจุดดำลอยไปมาและเป็นมากขึ้น
- มองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ
- ภาพบางส่วนหายไป เป็นต้น
ดังนั้นผู้ที่มีอาการดังกล่าวจึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจจอประสาทตาโดยละเอียด ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากภาวะผิดปกติชนิดใด และต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีใด
- หากจักษุแพทย์ตรวจพบรูขาดที่จอประสาทตา และยังไม่มีจอประสาทตาลอก อาจให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์รอบรอยขาด
- หากพบมีการลอกตัวของจอประสาทตา การรักษาอาจมีตั้งแต่การฉีดกาซเข้าไปในตา การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา และการทำผ่าตัดน้ำวุ้นตา ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ retinopathy
โรคแทรกซ้อนทางตาที่เกิดจากโรคเบาหวานมี ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทจอรับภาพเสื่อมหรือประสาทจอรับภาพขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการมองไม่เห็น
การดูแลที่สำคัญคือการตรวจตาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ Diabetes retinopathy เป็นอย่างไร
เป็นโรคเบาหวานที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จอรับภาพ retina โดยมีการทำลายหลอดเลือดบนจอภาพ ซึ่งหากเป็นมากอาจจะมีผลต่อการมองเห็น
|
โรคเบาหวานขึ้นจอรับภาพเกิดได้อย่างไร
คนที่เป็นเบาหวานมานานจะมีการทำลายหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดบางส่วนไม่แข็งแรงซึ่งทำให้เกิดผลตามมาดังนี้
- ผนังหลอดเลือดบางส่วนโป่งออกมาเรียก Aneurysm
- มีการรั่วของน้ำออกจากผนังหลอดเลือดเรียก Exudate
- อาจจะมีเลือดออกที่จอรับภาพเรียก Haemorrhage
- เส้นเลือดบางส่วนตีบตันทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ
- มีการงอกของเส้นเลือดใหม่เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือด เรียก proliferative ปัญหาคือเส้นเลือดที่งอกใหม่จะไม่แข็งแรงแตกได้ง่ายซึ่งจะเป็นสาเหตุของตาบอด
ผู้ที่เบาหวานขึ้นจอรับภาพจะมีอาการอย่างไรบ้าง
ผู้ที่เบาหวานขึ้นจอรับภาพส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไร แต่โรคจะค่อยดำเนินจนหากเป็นมากจะกระทบกับการมองเห็นจนกระทั่งตาบอด แต่อาจจะมีอาการดังต่อไปนี้
- ตามองไม่ชัด
- เห็นเศษชิ้นส่วนลอยในตา
- มีปัญหาเวลามองกลางคืน
- มองเห็นจุดดำ
- แยกสีไม่ชัดเจน
เบาหวานขึ้นจอรับภาพมีกี่ชนิด
ขึ้นกับว่ากระทบกับส่วนใดของจอรับภาพ แบ่งออกเป้น
การเปลี่ยนของจอรับภาพเนื่องจากเบาหวานจะพบได้เกือบทุกรายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 และพบร้อยละ60ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2เมื่อวินิจฉัยได้ครั้งแรกพบว่าก็มีการเปลี่ยนแปลงทางจอรับภาพแล้วร้อยละ21 การเปลี่ยนแปลงทางจอรับภาพที่พบได้แก่
1 Mild nonproliferative [increase permeability]
ผู้ป่วยไม่มีอาการ ตามองเห็นปกติ ตรวจทางจอรับภาพ จะพบ มีการโป่งพองของหลอดเลือด [microaneurysm], หลอดเลือดที่โป่งพองจะควบคุมการไหลของสารน้ำไม่ได้เกิด[ hard exudate] ,นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมของจอรับภาพ [macular edema] และ dot hemorrhage
|
2 moderate to severe nonproliferative [NPDR ,vascular closer] จอรับภาพจะมีการขาดเลือดเพิ่ม มีการหลั่งของเหลวในจอรับภาพ cotton-wool spot,venous dilatation |
3 proliferative diabetic retinopathy [new blood vessel on retina] หลอดเลือดที่จอรับภาพเสียหายทำให้มีการสร้างหลอดเลือดขึ้นใหม่ หลอดเลือดใหม่นี้ไม่แข็งแรงทำให้มีเลือดออกและมองไม่เห็น [vitreous hemorrhage] หลอดเลือดใหม่ทำให้เกิดพังผืด [scar] และเมื่อพังผืดบิดตัวทำให้เกิดการแยกของจอรับภาพและประสาทตา [ retinal detachment] ตาจะบอด
|
4 Macula edema
Macular จะเป็นส่วนของจอรับภาพที่ชัดที่สุด โรคเบาหวานจะทำให้บริเวณนี้บวมส่งผลทำให้เห็นไม่ชัด
|
การตรวจตาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่1 อายุมากกว่า 10 ปี และเป็นเบาหวานมาแล้วอย่างน้อย 5 ปีควรจะได้รับการตรวจจอรับภาพทุกคน
- ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 ควรจะได้รับการตรวจจอประสาทตาหลังจากวินิจฉัยโรคเบาหวาน
- การติดตามขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของจอรับภาพ หากปกติอาจจะติดตามทุก2-3ปี หากผิดปกติต้องติดตามถี่ขึ้น
- การใช้กล้องถ่ายภาพก็เป็นช่องทางหนึ่งในการติดตาม
- สตรีที่เป็นเบาหวานหากจะตั้งครรภ์ต้องตรวจจอรับภาพ
โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ retinopathy
โรคแทรกซ้อนทางตาที่เกิดจากโรคเบาหวานมี ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทจอรับภาพเสื่อมหรือประสาทจอรับภาพขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการมองไม่เห็น
การดูแลที่สำคัญคือการตรวจตาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
โรคต้อเนื้อและต้อลม
โรคต้อเนื้อหรือต้อลมเป็นภาวะเนื้อเยื่ยบุตามีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อม เนื่องจากการถูกสิ่งระคายเคืองมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดเนื้อเยื่อขาวที่ตาขาวเรียกว่าต่อเนื้อ หากยังสัมผัสสิ่งระคายเคืองอย่างต่อเนื่องก็จะกลายเป็นต้อเนื้อซึ่งจะเป็นก้อนเนื้อสีแดง ปรกติต้อเนื้อและต้อลมจะอยู่เฉพาะตาขาว แต่หากรุนแรงก็จะลามเข้าตาดำซึ่งจะทำให้เกิดตามัว
|
สาเหตุของต้อเนื้อต้อลม
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ แต่โรคนี้มักจะพบในคนที่กลางแจ้ง แสงแดดมากจึงเชื่อว่าปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อการเกิดโรคนี้
- แสงแดด หรือ แสงอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์
- ลมแรง
- สารที่ระคายเคืองต่อตา เช่น ฝุ่น ลม ควัน
- โรคตาแห้ง
อาการของต้อเนื้อต้อลม
ต้อเนื้อที่เริ่มเป็นมักจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์เนื่องจากมีก้อนเนื้อที่ตาขาว หากเจอลม เจอฝุ่น หรือมีการอักเสบจะมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหล หากอักเสบมากจะมีอาการเคืองตา หากต้อเนื้อเข้าตาดำอาจจะทำให้เกิดตามัว
ต้อเนื้อเป็นก้อนเนื้อสีขาว
|
ต้อเนื้อลามเข้าตาดำ
|
การรักษาต้อเนื้อต้อลม
โดยทั่วไปต้อลมและต้อเนื้อไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่มีอาการ การดูแลจะต้องป้องกันสิ่งระคายเคืองที่จะมาสัมผัสตา
การใช้ยาหยอดตา
จะใช้ยาหยอดตาในรายที่เป็นไม่มากแต่มีอาการระคายเคืองตา ยาหยอดตาใช้ลดอาการระคายเคือง ลดอาการตาแดง ลดอาการอักเสบ ส่วนผสมของยาส่วนใหญ่จะเป็นยาแก้แพ้ ยาที่ทำให้เส้นเลือดหดตัว และยา Steroid แม้ว่ายา Steroid จะให้ผลการรักษาที่ลดอาการได้เร็ว แต่ไม่แนะนำให้ซื้อยามาหยอดตาเอง และไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากยา เช่น ต้อกระจก ต้อหินซึ่งรุนแรงกว่าต้อเนื้อ
การผ่าตัด
จะตัดต้อเนื้อออกในรายที่ต้อเนื้อลามเข้าตาดำและทำให้ตามัว หากอาการไม่มากไม่แนะนำให้ผ่าตัดเพราะหลังผ่าจะมีโอกาศเกิดซ้ำ การผ่าตัดก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพียงยาชา หลังผ่าสามารถกลับบ้านได้
การป้องกันโรคต้อเนื้อต้อลม
การป้องันโรคทำได้โดยการป้องกันตามิให้กระทบกับสิ่งที่ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา
- หลีกเลี่ยงการทำงานในที่แสงแดดมาก
- หลีกเลี่ยงสถานที่มี ลม ฝุ่นมาก
- ให้สวมหมวกปีกกว้าง และแว่นกันแดดเมื่อจะออกที่แจ้ง
- หยอดน้ำตาเทียมสำหรับคนที่ตาแห้ง
โรคริดสีดวงตา Trachoma คืออะไร
เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาซึ่งอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนทำให้ตาบอดก่อนวัยได้ สาเหตุที่สำคัญคือเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Chlamydia trachomatis อาการเริ่มต้นจะไม่มาก อาจจะมีอาการระคายเคืองตา และมีหนองอกเล็กน้อย หากมีการติดเชื้อซ้ำอาจจะทำให้เกิดตาบอด |
โรคนี้ติดต่ออย่างไร
โรคริดสีดวงตานี้จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัส วิธีติดต่อที่สำคัญคือ
- สัมผัสโดยตรงกับหนองหรือขี้ตาที่มีเชื้อโรค
- สัมผัสกับน้ำมูก หรือเสมหะที่มีเชื้อโรค
- สัมผัสผ่านทางผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
- แมลงวันก็สามารถนำเชื้อจากคนติดเชื้อไปสู่คนปรกติ
โรคริดสีดวงตามีอาการอย่างไร
อาการเริ่มแรกจะมีการติดเชื้อที่เปลือกตาทำให้เกิดตาแดง น้ำตาไหลมีขี้ตา บางคนจะรู้สึกเหมือนมีผงในตา หากพลิกดูหนังตาจะพบเป็นตุ่มเล็กๆที่เรียกว่า Follicle การติดเชื้อเพียงครั้งเดียวจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อดวงตา หากมีการติดเชื้อซ้ำจะทำให้เกิดการอักเสบของเปลือกตา ทำให้เกิดพังผืดดึงรั้งเกิดแผลเป็นบริเวณขอบเปลือกตาเป็นต้นเหตุให้ขนตาเกเข้า (Trichiasis) ขนตาชี้ลงจนครูดบาดกระจกตา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บตา เคืองตามากขึ้น ตามด้วยมีขี้ตามากขึ้น ขนตาจะทิ่มแทงกระจกตาทำให้เกิดแผลที่กระจกตา keratitis นานเข้าการอักเสบจะลามเข้าถึงในตาทำให้เกิดฝ้าขาว
หนังตาบนอักเสบเห็นเป็นตุ่มๆ
|
หนังตาบนจะเกิดพังผืด
|
เริ่มมีพังผืดที่ตาดำจะเห็นเป็นฝ้าขาว
|
นอกจากนั้นการอักเสบจะทำให้ท่อน้ำตาอุดตันก็จะเกิดตาแห้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตา ทำให้ตามองไม่เห็น
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
- สภาพแวดล้อมแออัด นอนรวมกันในห้องนอนหลายคน
- ขาดแคลนน้ำสะอาด
- ขาดอุปกรณ์สำหรับการทำความสะอาด
- มีแมลงวันจำนวนมาก
- ระบบสาธารณสุขไม่ดี
การวินิจฉัยโรคริดสีดวงตา
การวินิจฉัยจะอาศัยประวัติและการตรวจพบตุ่มที่ใต้หนังตาบน มีพังผืดที่หนังตา กระจกตาเป็นแผล ขึ้นกับระยะของโรค หากสงสัยก็นำขี้ตาไปย้อมและเพาะเชื้อก็จะพบเชื้อที่เป็นสาเหตุ
การรักษา
การผ่าตัด
เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนทิศทางของขนตามิให้ทิ่มแทงกระจกตา
ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะทั้งชนิดหยอดตา และยารับประทาน เป็นยาในกลุ่ม Tetracycline โดยเป็นยารับประทาน 1.5–2 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และเป็นยาขี้ผึ้งป้ายตาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน หรือใช้ยา Erythromycin หากผู้ป่วยแพ้ยาTetracycline ปัจจุบันมีแพทย์บางท่านแนะนำใช้ Agithomycine 2 กรัมเพียงครั้งเดียวก็ได้
การล้างหน้า
การล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
การจัดการกับสิ่งแวดล้อม
- จัดหาแหล่งน้ำสะอาด
- จัดหาสบู่ ผงซักฟอก
- ลดปริมาณของแมลงวัน
- ให้ล้างหน้าด้วยน้ำและสบู่่
ตาเขหรือตาเหล่
ตาของคนปกติจะทำงานร่วมกันเสมอ เมื่อมองซ้ายหรือขวาก็จะไปด้วยกันเสมอรวมทั้งการมองขึ้นหรือมองลง ตาเหล่หรือตาเขหมายถึงการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติไม่ได้มองจุดเดียวกันทั้งสองตา |
ชนิดของตาเหล่
เวลามองตรงไปข้างหน้าในคนปกติ ตาทั้ง 2 ข้างจะต้องอยู่ตรงกลาง แต่เมื่อตาสองข้างเวลามองตรง
ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่อีกตาเฉออก ซึ่งอาจเฉออกด้านไหนก็ได้ เช่น เฉออกมาที่หัวตา หรือ เฉขึ้นบน เรียกภาวะ หรือ โรคนี้ว่า โรค/ภาวะ ตาเหล่ หรือ ตาเข (Strabismus)
- ตาข้างหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่ตาอีกข้างกลับหมุนเข้าใน เรียกภาวะนี้ว่า ตาเหล่เข้าใน (Esotropia) เป็นตาเหล่ที่พบบ่อยที่สุด
- ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งกลอกออกมาทางหางตาหรือออกนอก เรียกว่า ตาเหล่ออกนอก (Exotropia)
- ตาเหล่ขึ้นบน (Hypertropia)
- ตาเหล่ลงล่าง (Hypotropia)
นอกจากนั้นตาเหล่อาจจะเป็นชั่วคราว Intermittent หรือตาเหล่ถาวร Constant ผู้ป่วยที่ตาเหล่ชั่วคราวมักจะเป็นมากชั่วที่ตาอ่อนล้า เช่นตอนสายของวัน หรือขณะป่วย หรือบางรายผลัดกันเข บางครั้งเป็นตาขวา บางครั้งเป็นตาซ้ายเรียกว่า alternate strabismus
มีอีก 2 สภาวะที่คล้ายตาเหล่มาก ได้แก่ ตาเหล่ซ่อนเร้น (Phoria) และตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus)
ตาเหล่ซ่อนเร้น (Phoria)
ตาเหล่ซ่อนเร้น บางคนเรียกว่า ตาส่อน เป็นภาวะที่ถ้าลืมสองตา ตาทั้ง 2 ข้างจะอยู่ตรงกลางดี เวลาที่ร่างกายอ่อนเพลียหรือเอาอะไรมาบังตาข้างหนึ่งเสีย ตาข้างที่ถูกบังจะเบนออกจากตรงกลาง แต่ถ้าเอาที่บังตาออก ตาข้างนั้นจะกลับมาตรงได้ใหม่ อาจเรียกว่า ความต้องการในการมองเห็นภาพเป็นภาพเดียวกันมีสูง สามารถบังคับให้ตาที่เขกลับมาตรงได้ ภาวะนี้มักจะไม่มีปัญหาอะไร อาจเป็นเหตุให้มีอาการเมื่อยตา ตาล้า ง่ายกว่าคนทั่วไปเวลาใช้สายตามากๆ ซึ่งแก้ไขได้โดยการฝึกกล้ามเนื้อตา
ตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus)
สำหรับตาเหล่เทียม พบในเด็กที่สันจมูกกว้างยังแบนราบกับผิวหนังทำให้เก็นตาขาวน้อย และบริเวณหัวตากว้าง (Epicanthus) จึงแลดูคล้ายตาเหล่เข้าใน เมื่อเด็กโตขึ้นสันจมูกมีดั้งสูงขึ้น ภาวะคล้ายตาเหล่นี้จะหายไป
สาเหตุของโรคตาเหล่ที่พบบ่อย
สาเหตุของตาเหล่ยังไม่ทราบแน่ชัด
- มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่นสายตายาว สายตาสั้น หรือตามัว จะทำให้มีการปรับตัวเกิดตาเหล่
- โรคประจำตัวของเด็กเช่น cerebral palsy, Down syndrome, hydrocephalus และเนื้องอกสมอง brain tumor ก็พบว่ามีตาเหล่มาก
- สำหรับผู้ใหญ่พบว่าสาเหตุของตาเหล่ได้แก่ การเป็นอัมพาต อุบัติเหตุ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
อาการของตาเหล่
- มองเห็นตาเฉออกชัดเจน
- ตาไม่เคลื่อนไหวไปในแนวทางเดี่ยวกัน
- กระพริบตาบ่อยโดยเฉพาะแสงจ้าๆ
- เอียงคอเวลามอง
- กะระยะผิด
- เห็นภาพซ้อน
การวินิจฉัยโรคตาเหล่
การวินิจฉัยจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วย หากตาเหล่ชัดเจนก็สามารถเห็นได้ด้วยการตรวจตา แต่ในรายที่ไม่ชัดอาจจะต้องการตรวจเพิ่มเติม
- การตรวจการมองเห็นและการตรวจสายตา
- การตรวจ light reflex testing โดยการให้มองแหล่งกำเนิดแสงที่วางห่างออกไปประมาณ 3 ฟุต ให้ตรวจดูแสงที่ม่านตา หากแสงตกที่บริเวณม่านตาสมดุลสองข้างแสดงว่าไม่มีตาเหล่ หากแสงตกไม่สมดุลแสดงว่ามีตาเหล่ ระยะทางที่ไม่สมดุลจะสอดคล้องกับความรุนแรงของตาเหล่
- การตรวจ cover testing โดยการให้มองนิ่งไปที่วัตถุ และนำกระดาษมาบังตาข้างหนึ่ง ให้สังเกตตาที่มอง หากมีการเคลื่อนที่ของตาที่มองเมื่อมีการบัง แสดงว่ามีตาเหล่
- การตรวจ prism and cover testing prism เป็นก้อนสามเหลี่ยมมีหน้าที่หัเหแสง เมื่อนำมาใช้กับการตรวจ 2 ก็จะบอกความรุนแรงของตาเหล่
รักษาผู้ป่วยตาเหล่
เป้าหมายของการรักษาคือแก้ไขความพิการเพื่อให้การมองเห็นดีขึ้นการรักษาขึ้นกับสาเหตุ เช่นการใส่แว่นตา การบริหารกล้ามเนื้อตา การใช้แท่ง prism การผ่าตัดซึ่งจะทำหลังจากการรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล
- แก้ปัญหาเรื่องสายตา เช่นตาสั้น ตาเอียง สายตายาว ก่อนที่จะเกิดตาเหล่
- ใช้แว่นตา prism การบริหารกล้ามเนื้อตาในการแก้ไข
- การผ่าตัด