วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โรคของตา มีอะไรบ้าง

ตาบอดสี เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ sex linked ทำให้พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 10 ต่อ1ส่วนใหญ่จะบอดสี แดง-เขียว พบรองลงมาได้แก่ น้ำเงิน-เหลือง คนที่บอดสี แดง-เขียวมักจะบอดสี น้ำเงิน-เหลืองด้วย
อาการ และการรักษา
ในรายที่เป็นไม่รุนแรงอาจจะไม่มีอาการ ในรายที่เป็นรุนแรงผู้ปกครองอาจจะสังเกตพบตอนเป็นเด็ก ยังไม่มีการรักษาเฉพาะเป็นแล้วจะเป็นตลอดชีวิต บางประเทศอาจจะมีข้อห้ามในการเป็นนักบิน

การตรวจตาบอดสี
โดยการให้อ่านกระดาษซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข หรือหนังสือคนตาปกติจะบอกเลขได้
1.jpg (15372 bytes)2.jpg (17278 bytes)3.jpg (16672 bytes)4.jpg (16090 bytes)
6.jpg (17245 bytes)7.jpg (15147 bytes)8.jpg (16981 bytes)9.jpg (18137 bytes)
5.jpg (15865 bytes)10.jpg (17142 bytes)11.jpg (15737 bytes)12.jpg (16732 bytes)





หลายคนคุ้นเคยกับคำว่าต้อกระจกมากกว่าต้อหิน ต้อกระจกเป็นภาวะที่เลนส์ตาเราขุ่นมัวเหมือนกระจกฝ้าทำให้เห็นไม่ชัด ส่วนต้อหินไม่ได้หมายความว่าเลนส์ตาเราจะแข็งเหมือนหิน แต่หมายถึงการเสื่อมของประสาทตาจากความดันในตาซึ่งสูงขึ้น หรือบางคนความดันตาก็ไม่ได้สูง

การทำงานของตา
การที่จะเข้าใจโรคต้อหินจะต้องเข้าใจถึงโครงสร้างของตา ตาของเรามีลักษณะกลม มีเปลือกตาขาว (sclera ) หุ้ม
อยู่ภายนอก ส่วนหน้าของลูกตาซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็น จะมีเยื่อบางๆหุ้มอยู่เรียกเยื่อนี้ว่า conjunctiva ถัดจากนั้นเป็นชั้นที่เรียกว่า กระจกตา (cornea) เป็นทางให้แสงผ่านชั้นนี้หากขุ่นมัวเราสามารถผ่าตัดเปลี่ยนได้ ถัดจากนั้นก็จะเป็นรูม่านตา pupil ซึ่งจะปรับปริมาณแสงที่ผ่านถ้าสว่างมากรูม่านตาก็จะเล็ก หากมือรูม่านตาก็จะกว้างเพื่อให้แสงผ่านเข้าตามากขึ้น แสงจะผ่านไปเลนส์ lens และไปที่จอรับภาพ retina ในตาจะมีน้ำเลี้ยงเรียก aqueous humor ซึ่งเหล่าเลี้ยงเลนส์ กระจกตา และจะถูกดูดซึมตามท่อข้าง iris muscle ทำให้มีความสมดุลของน้ำในตา
น้ำตาและน้ำเลี้ยงตาเหมือนกันหรือไม่
น้ำตาเป็นน้ำที่สร้างจากต่อมน้ำตาและหล่อเลี้ยงภายนอก ส่วนน้ำเลี้ยงตาจะอยู่ในลูกตาไม่ออกสู่ภายนอก น้ำเลี้ยงตาจะหล่อเลี้ยง กระจกตา เลนส์และม่านตา

ต้อหินคืออะไร

ต้อหินเป็นภาวะที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นและมีการเสื่อมของประสาทต าและสูญเสียการมองเห็น ความดันในตาที่สูงจะกดดันเส้นประสาทตา (optic nerve)ให้เสื่อม ความดันสูงเป็นเวลานานประสาทตาก็จะเสื่อมทำให้สูญเสียการมองเห็น การสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา ส่วนตรงกลางภาพยังเห็นชัด หากไม่ได้รักษาการมองเห็นจะจะได้ภาพเล็กลง การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆเป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว โดยมากมักจะเป็นสองข้าง อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน

การมองเห็นของคนปกติ

การมองเห็นของคนเป็นต้อหิน


เมื่อคนเริ่มจะสูงอายุก็จะเริ่มเกิดการเสื่อมขึ้นตามอวัยวะต่าง เช่นข้อเสื่อม หากเกิดที่สมองก็เกิดสมองเสื่อม เกิดที่หูก็หูตึง เกิดที่ระบบสืบพันธ์ก็เกิดกามตายด้าน หากเกิดที่ตาโดยเฉพาะเลนส์แก้วตาเรียกต้อกระจก

โรคต้อกระจก

แก้วตา (Lens) เป็นเลนส์นูนใสอยู่หลังม่านตา ทำหน้าที่ร่วมกับ กระจกตา ในการหักเหแสงุให้ตกโฟกัสที่จอประสาทตา จึงทำให้เกิดการมองเห็น

ต้อกระจกหรือที่เรียกว่า Cataract เกิดจากเลนส์แก้วตาเสื่อม ทำให้เลนส์แก้วตาขุ่นมัวทำให้มองไม่ชัด อ่านหนังสือไม่ชัด แก้วตาที่ขุ่นลงนี้ ส่งผลให้กำลังหักเหของแสงผิดไป ตลอดจนขัดขวางไม่ให้แสงเข้าตา ผู้นั้นจึงมองภาพเห็นภาพไม่ชัด นั่นคือโรคที่เรียกกันว่า “ต้อกระจก”

เลนส์ตาใส

เลนส์ตาขุ่น

อาการของต้อกระจก

อาการและอาการแสดงของต้อกระจกมีดังนี้
  • มองไม่ชัดเป็นอาการเด่นของต้อกระจกคือ ตาค่อยๆมัวลงอย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการอื่น อาการตามัวจะเป็นมาขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า เช่น เมื่อออกแดด แต่กลับมองเห็นเกือบเป็นปกติในที่มืดสลัวๆ หรือเวลาพลบค่ำ
  • เห็นภาพซ้อนแม้ว่าจะมองด้วยตาข้างเดียวเนื่องจากการหักเหของแสงไม่ลงที่จอประสาท
  • เห็นวงรอบแสงไฟ
  • อ่านหนังสือต้องใช้แสงจ้าๆ
  • ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย
  • เห็นฝ้าขาวบริเวณกลางรูม่านตาในผู้ที่ต้อกระจกสุกเต็มที่แล้ว

การมองเห็นของตาปกติ

การมองเห็นของคนตาเป็นต้อกระจก
สาเหตุ

การมองเห็นของคนปกติ

การมองเห็นของคนที่เป็นต้อกระจก แสงผ่านเข้าจอรับภาพน้อย
แสงจะผ่านจากภายนอกเข้าสู่เลนส์กระจกตา ม่านตาและเลนส์ตา เลนส์ตาทำหน้าที่ปรับให้แสงตกที่จอรับภาพทำให้ภาพชัด คนที่เป็นต้อกระจกเลนส์ตาจะขุ่นมัว ทำให้แสงไม่สามารถผ่านไปยังจอรับภาพได้อย่างสะดวกทำให้ภาพไม่ชัด

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ อายุพบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีจะมีต้อกระจกอยู่แล้วบางส่วน มักพบแก้วตาขุ่นเล็กๆน้อยๆ หรือเป็นต้อกระจกระยะต้นๆ อาจพบจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่จากวัยสูงอายุ เช่น
  • โรคเบาหวาน
  • ประวัติครอบครัวเป็นต้อกระจก
  • เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตา
  • การใช้ยาบางชนิดเช่น steroid
  • ติดสุรา
  • เจอแสงแดดมาก
  • ต้องสัมผัสรังสีปริมาณมาก
  • สูบบุหรี่
  • เด็กที่ขาดอาหาร
  • เลนส์ตาได้รับการกระทบกระเทืนอย่างแรง เช่นถูกกระแทก
  • การใช้ยา steroid เพื่อรักษาโรค
การคัดกรอง
  • อายุ 40-65 ปีให้ตรวจตาทุก 2-4 ปี
  • อายุมากกว่า 65 ปี ให้ตรวจทุก 1-2 ปี
  • ตรวจตาเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง

การรักษา

การรักษาขึ้นกับสภาพของต้อกระจกกล่าวคือ
  • ต้อที่เพิ่งจะเริ่มเป็นและเป็นไม่มาก ต้องรอให้ต้อสุกเสียก่อน ระหว่างนี้ก็ให้ตรวจตาตามแพทย์นัด
  • ต้อที่แก่หรือสุกก็ผ่าตัดซึ่งไม่จำเป็นต้องรีบร้อน หากเตรียมตัวพร้อมก็ผ่าตัด
  • ต้ที่สุกและเริ่มมีโรคแทรกซ้อนให้ทำการผ่าตัด
การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัดเอาเลนส์ที่ขุ่นมัวออก วิธีการผ่าตัดทำได้ 2 วิธี
  • Phacoemulsification เป็นวิธีที่นิยมทีสุดโดยการเจาะรูเล็กๆแล้วใช้เครื่อง ultrasound สลายเลนส์และดูดออก
  • Extracapsular โดยการผ่าตัดเป็นแผลเล็กๆแล้วเอาเลนส์ที่เสียออก
หลังจากเอาเลนส์ออกแล้วแพทย์ก็จะใส่แก้วตาเทียมเข้าแทนที่อันเดิม หลังผ่าตัดอาจจะมีอาการระคายเคืองตา อาจจะต้องใส่เครื่องป้องกันการขยี้ตา 1-2 วัน หลังผ่าตัก 1 วันก็จะเห็นชัดขึ้นแต่จะชัดที่สุดคือหลังผ่า 4 สัปดาห์และมีความจำเป็นต้องสวมแว่นตา หลังผ่าตัดหากมีอาการเหล่านี้ให้พบแพทย์
  • ตามองไม่เห็น
  • ปวดตาตลอด
  • ตาแดงมากขึ้น
  • เห็นแสงแปล็บๆ
  • คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะและไอ
การป้องกัน
  • งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์


โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา (conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง

อาการของโรคตาแดง

แพทย์จะถามถึงยาที่ท่านรับประทาน ยาหยอดตา เลนส์ น้ำยาล้างตา รยะเวลาที่เป็น อาการที่สำคัญคือ
  1. คันตา เป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ อาการคันอาจจะเป็นมากหรือน้อย คนที่เป็นโรคตาแดงโดยที่ไม่มีอาการคันไม่ใช่เกิดจากโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นอาจจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเช่นหอบหืด ผื่นแพ้
  2. ขี้ตา ลักษณะของขี้ตาก็ช่วยบอกสาเหตุของโรคตาแดง
  • ขี้ตาใสเหมือนน้ำตามักจะเกิดจากไวรัสหรือโรคภูมิแพ้
  • ขี้ตาเป็นเมือกขาวมักจะเกิดจากภูมิแพ้หรือตาแห้ง
  • ขี้ตาเป็นหนองมักจะร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้าทำให้เปิดตาลำบากสาเหตุมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
  1. ตาแดงเป็นข้างหนึ่งหรือสองข้าง
  • เป็นพร้อมกันสองข้างโดยมากมักจะเกิดจากภูมิแพ้
  • เป็นข้างหนึ่งก่อนแล้วค่อยเป็นสองข้าง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อเช่นแบคทีเรีย ไวรัส หรือ Chlamydia
  • ผู้ที่มีโรคตาแดงข้างเดียวแบบเรื้อรัง ชนิดนี้ต้องส่งปรึกาแพทย์
  1. อาการปวดตาหรือมองแสงจ้าไม่ได้ มักจะเกิดจากโรคชนิดอื่นเช่นต้อหิน ม่านตาอักเสบเป็นต้น ดังนั้นหากมีตาแดงร่วมกับปวดตาหรือมองแสงไม่ได้ต้องรีบพบแพทย์
  2. ตามัว แม้ว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์
  3. ประวัติอื่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา น้ำตาเทียม เครื่องสำอาง โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ
การตรวจร่างกาย
  • คุณลองคลำต่อมน้ำเหลืองรอบหู หากคลำได้อาจจะเป็นโรคติดเชื้อไวรัส หรือจากสัมผัสสารระคายเคือง ส่วนเชื้อแบคทีเรียมักจะคลำไม่ได้ต่อมน้ำเหลือง
  • ในรายที่เป็นไม่มากไม่ต้องตรวจอะไรเพิ่มเติม
  • ในรายที่เป็นรุนแรง เป็นๆหายๆ หรือเป็นเรื้อรังควรจะต้องตรวจเพาะเชื้อจากขี้ตา
  • การนำขี้ตามาย้อมหาตัวเชื้อก็พอจะบอกสาเหตุของโรคตาแดง
การป้องกันโรคตาแดง
  • อย่าใช้เครื่องสำอางร่วมกับคนอื่น
  • อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
  • ล้างมือบ่อยๆ อย่าเอามือเข้าตา
  • ใส่แว่นตากันถ้าต้องเจอสารเคมี
  • อย่าใช้ยาหยอดตาของผู้อื่น
  • อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน
  • ยาเมื่อไม่ได้ใช้ให้ทิ้ง
  • อย่าสัมผัสมือ
  • เช็ดลูกบิดด้วยน้ำสบู่เพื่อฆ่าเชื้อโรค
การรักษาตาแดงด้วยตัวเอง
  • ประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ10-15 นาที
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • อย่าขยี้ตาเพราะจะทำให้ตาระคายมากขึ้น
  • ใส่แว่นกันแดด หากมองแสงสว่างไม่ได้
  • อย่าใส่ contact lens ช่วยที่มีตาแดง
  • เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน เปลี่ยนหมอนทุก 2 วัน
หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์
  • ตามัวลง
  • ปวดตามากขึ้น
  • กรอกตาแล้วปวด
  • ไข้
  • ให้ยาไปแล้ว 48 ชั่วโมงไม่ดีขึ้น
  • น้ำตายังไหลอยู่แม้ว่าจะได้ยาครบแล้ว
  • แพ้แสงอย่างมาก
การหยอดยาหยอดตา
  1. ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง
  2. ดึงหนังตาล่างลง
  3. ตาเหลือกมองเพดาน
  4. หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง
  5. ปิดตาและกรอกตาไปมาเพื่อให้ยากระจาย การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา
  6. เช็ดยาที่ล้นออกมา
  7. ล้างมือหลังหยอดเสร็จ








น้ำตาของคนเรามี 3 ชั้น ชั้นในสุดที่ติดกับแก้วตาจะเป็นเมือก ชั้นกลางเป็นน้ำ เป็นตัวให้อาหารและออกซิเจนหล่อเลี้ยงแก้วตา ส่วนชั้นนอกเป็นไขมันป้องกันการระเหยของน้ำตา น้ำตาของคนสร้างต่อมน้ำตาของหนังตาบน เวลาเรากระพริบตา น้ำตาจะถูกขับออกมาเคลือบตา น้ำตาที่หลั่งออกมาจากการกระพริบตาออกครั้งละไม่มาก น้ำตาไหลจากเสียใจหรือเกิดจากการระคายเคืองจะออกเป็นปริมาณมาก

สาเหตุของตาแห้ง
  • เป็นธรรมชาติของคนสูงอายุที่มีการขับน้ำตาออกมาน้อยโดยเฉพาะผู้หญิงจะพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย
  • สภาพอากาศ ร้อน อากาศแห้ง ลมแรง
  • ลมจากเครื่องปรับอากาศ ควันบุหรี่
  • หารอ่านหนังสือหรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แนะนำให้หยุดพักตาและกระพริบตาบ่อยๆ
  • การใส่ contact lens
  • การขาดวิตามิน เอ
อาการของโรคตาแห้ง
  • เคืองตา
  • แสบตา
  • ตาแดง
  • ตามัว เมื่อกระพริบตามองเห็นชัดขึ้น
  • น้ำตาไหลมาก
  • เคืองตาหลังจากใช้งานเป็นเวลานาน
การรักษา
  • การใช้น้ำตาเทียมเป็นการลดอาการเท่านั้น
  • ปิดท่อระบายน้ำตา ทำให้มีน้ำตาหล่อเลี้ยงตาเพิ่มขึ้น
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ เวลาอ่านหนังสือหรือทำงานกับคอมพิวเตอร์นานให้กระพริบตาบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการขยี้ตา

อาการ
ผู้ป่วยจะมาด้วยมีก้อนที่เปลือกตา และมีอาการปวดหนังตา กรอกตาหรือหลับตาจะทำให้ปวด บางคนมีอาการบวมที่เปลือกตา บางคนบวมมากจะตาปิด บางคนหนองไหลออกจากเปลือกตา หากหนองแตกในตาจะทำให้มีขี้ตาเป็นสีเขียว

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus เป็นส่วนใหญ่ หากไม่รักษาหนองอาจจะหายเองได้หรืออาจจะแตกออก หรืออาจเกิดเป็นก้อนที่เรียกว่า chalazionซึ่งอาจจะมีขนาดใหญ่จนรบกวนการมองเห็น และมักจะพบตากุ้งยิงมากในคนไข้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้

  • โรคเบาหวาน
  • โรคเรื้อรังอื่น
  • ผู้ที่มีหนังตาอักเสบเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
การตรวจร่างกาย
หากท่านมีปัญหาก้อนที่ตาและมีอาการปวดท่านควรจะไปพบจักษุแพทย์ซึ่งจะตรวจร่างกายอย่างละเอียด
  • แพทย์จะตรวจเปลือกตาทั้งด้านในและด้านนอกของเปลือกตาเพื่อแยกว่าเป็น internal หรือ external hordeolum
  • ท่านอาจจะพบตาท่านแดงเนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุตา conjunctivitis
  • ต่อมน้ำเหลืองที่หน้าหูมักจะไม่โต

เมื่อมองจากข้างนอก

เมื่อมองที่ด้านในเปลือกตา
ตากุ้งยิงที่หนังตาบน
External hordeolum

ก้อนchalazion
การรักษา
การผ่าระบายหนอง
  • ใช้มีดเบอร์เล็กๆหรือเข็มเจาะบริเวณหัวหนอง โดยมากให้เจาะจากด้านในของเปลือกตา เนื่องจากว่าการเจาะจากด้านนอกจะทำให้เกิดแผล นอกเสียจากว่าหัวหนองนั้นอยู่ใกล้เปลือกตาด้านนอก
  • หากมีหัวหนองหลายแห่งก็ต้องเจาะหลายที่
  • หากเจาะจากด้านในของเปลือกตาให้เจาะตั้งฉากกับเปลือกตา หากเจาะจากด้านนอกให้เจาะขนานกับเปลือกตาเพื่อป้องกันการดึงรั้งของแผล
  • ห้ามกรีดขอบหนังตาเพราะจะไปทำลายต่อมขนตา
  • ไม่ควรเจาะทั้งด้านในและด้านนอกพร้อมกันเพราะจะทำให้เกิดเป็นรูเรียก fistula
การใช้ยาหยอดตา
  • Bacitracin ophthalmic ointment ในรายที่เป็นมากให้ป้ายแผลวันละ 4-6 ครั้งเป็นเวลา 7 วันในรายที่เป็นน้อยป้ายวันละ 2-3 ครั้ง
  • Tobramycin ophthalmic solution หยอดตาวันละ3-4 ครั้ง
ยารับประทาน
  • Erythromycin ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารข้อควรระวังในการใช้นาชนิดนี้ได้แก่ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับไม่ควรใช้ร่วมกับยา theophyllin, digoxin, carbamazepine,  cyclosporinewarfarin;  lovastatin และ simvastatin ยานี้อาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง
  • Dicloxacillin ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร
  • Tetracycline ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้ง ข้อระวังหากรับยานี้ร่วมกับยารักษากระเพาะอาหารหรือยาระบายจะทำให้ลดการดูดซึมยานี้ ทำให้ระดับยาคุมกำเนิดลดลงอาจจะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ห้ามใช้ในคนท้อง
การดูแลตัวเอง
  • ประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาทีวันละหลายครั้ง อาจจะใช้ผ้าห่อไข่ต้ม
  • ห้ามบีบหรือเค้นเพื่อเอาหนองออก หากหนองแตกเองก็ให้ล้างบริเวณหนองด้วยน้ำต้มสุก
  • ให้ล้างมือบ่อยๆ
  • ให้หยอดหรือทายาตามสั่ง
  • งดทาเครื่องสำอาง
  • หลีกเลี่ยงการใส่ contact lenses
โรคแทรกซ้อน
  • หากไม่รักษาอาจจะทำให้เกิด chalazion ซึ่งจะทำให้เกิดแผลที่แก้วตา หรือความผิดปกติของหนังตา
  • ขนตางอกผิดปกติ หรืออาจจะเกิดรู
  • หากไม่รักษาอาจจะทำให้ตาอักเสบ


เป็นภาวะที่มีเลือดออกในวุ้นลูกตาเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดใหม ่เนื่องจากจอประสาทขาดเลือด หรือเกิดจากการฉีกขาดของเส้นเลือดเนื่องจากการกระแทก อาการที่สำคัญคือจะเห็นจุดดำลอยไปมา บางท่านตาจะมองไม่เห็น
น้ำวุ้นตา



เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา

โครงสร้างของน้ำวุ้นลูกตา
น้ำวุ้นลูกตาประกอบไปด้วยน้ำร้อยละ 99 ส่วนที่เหลือเป็เกลือแร่ น้ำตาล และที่สำคัญคือ collagen และ hyaluronic acid ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้น้ำวุ้นลูกตาข้น น้ำวุ้นลูกตาจะเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของตา และทำหน้าที่ให้ตาคงรูป และเป็นทางผ่านของแสง ปกติน้ำวุ้นลูกตาจะไม่มีเซลล์ หรือเส้นเลือด
ทำไมถึงมีเลือดในน้ำวุ้นลูกตา
สาเหตุที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตามีด้วยกันสามสาเหตุ ได้แก่
  1. ความผิดปกติของเส้นเลือด โดยมากเกิดจากการที่มีเส้นเลือดเกิดใหม่ เนื่องจากจอรับภาพมีการขาดเลือด เช่น โรคเบาหวานขึ้นจอรับภาพ sickle anemia เส้นเลือดที่เกิดใหม่เหล่านี้ผนังไม่แข็งแรงทำให้มีการฉีกขาดและมีเลือดออกในวุ้นลูกตาได้
  2. มีการฉีกขาดของเส้นเลือดปรกติเนื่องจากมีแรงที่กระทำต่อเส้นเลือดที่จอรับภาพ เช่น มีการแยกตัวของนำวุ้นลูกตาออกจากจอรับภาพทำให้เส้นเลือดจอรับภาพฉีกขาด
  3. เลือดจากอวัยวะข้างเคียง เช่น เนื้องอกเป็นต้น

ผู้ที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตาจะมีอาการอะไรบ้าง

อาการของคนที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นคือ เห็นเศษลอยในตาข้างเดียวหรือตามองไม่เห็นโดยที่ไม่มีอาการปวด ในรายที่เริ่มเป็นหรือเป็นน้อยจะมีอาการเห็นเศษเนื้อลอยไปมา หรือเห็นเป็นใยแมงมุม อาจจะเห็นภาพเหมือนมีหมอก บางรายจะเห็นเป็นสีออกแดง

การวินิจฉัยไม่ยากแพทย์จะตรวจตาโดยละเอียดเลือดออกวุ้นลูกตา

  • ตรวจการเห็นของตาทั้งสองข้าง
  • ตรวจการตอบสนองต่อแสงของรูม่านตา pupil
  • ใช้เครื่อง Slit lamp ตรวจตาซึ่งจะเห็นเลือด
  • ใช้กล้องส่องเข้าในลูกตาจะพบเศษชิ้นเนื้อไม่พบรายละเอียดของจอรับภาพ

การรักษาเลือดออกวุ้นลูกตามีอะไรบ้าง

การรักษาขึ้นกับสาเหตุ หากเกิดจากจอรับภาพหลุดจากเส้นประสาทจะต้องผ่าตัดทันที หากจอรับภาพไม่หลุดก็อาจจะให้นอนพักศีรษะสูง และพิจารณาใช้ Laser ในกรณีที่เกิดจากการที่มีเส้นเลือดใหม่




จอประสาทตาลอกจากที่เคยอยู่ สาเหตุเกิดจากรูหรือรอยฉีกขาด หรือเกิดจากการดึงรั้งของผังผืด หรือการอักเสบทำให้มีน้ำเซาะจนจอประสาทลอก อาการที่สำคัญคือจะเห็นจุดดำลอยไปมา ร่วมกับการเห็นแสงเหมือนไฟแล็บ และมองไม่เห็นบางส่วนของภาพ
ตา



จอประสาทตา

จอประสาทตา Retina เป็นชั้นในสุดของลูกตา ประกอบด้วยเซลหลายชนิดเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ มีหน้าที่รับแสงที่ผ่านเข้ามาจากภายนอก โดยผ่านกระจกตา เลนส์ตาที่ทำหน้าที่รวมแสง ให้ไปตกที่จอประสาทตา จากนั้นที่จอประสาทตา จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาทางเคมี เปลี่ยนสัญญาณแสง ให้กลายเป็นกระแสประสาท แล้วส่งไปตามเส้นประสาทตาคู่ที่2 เข้าสู่สมอง เพื่อแปลผลเป็นภาพต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบลูกตากับกล้องถ่ายรูป จอประสาทตาจะเทียบได้กับฟิล์ม ที่ทำหน้าที่รับภาพ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตา จึงมีผลทำให้การเห็นภาพผิดไป หรืออาจทำให้เสียการมองเห็นไปทั้งหมดก็ได้

จอประสาทตาลอกจอประสาทตาลอก

หมายถึงภาวะที่เกิดการแยก หรือลอกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม โดยมีรูปแบบและสาเหตุการเกิดได้หลายประการ ได้แก่
  1. จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรู หรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา (rhegmatogenous retinal detachment) ทำให้มีน้ำไหลเข้าเกิดการแยกของจอประสาทตา สาเหตุมักเกิดจากการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงที่ตา จอประสาทตาเสื่อมในผู้ป่วยสายตาสั้น หรือเกิดรูขาดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ เป็นสาเหตุของจอประสาทตาลอกบ่อยที่สุด
  2. จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง (tractional retinal detachment) เกิดจากการดึงรั้งของพังผืดที่จอประสาทตาหรือในน้ำวุ้นตา ทำให้จอประสาทตาหลุดลอก พบไม่บ่อย มักพบในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอรับภาพระยะท้ายซึ่งมีเส้นเลือดงอกผิดปกติ ที่จอรับภาพ และมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของน้ำวุ้นลูกตา หรือจอประสาทตาอย่างรุนแรงจนเกิดชั้นพังผืด หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับอุบัติเหตุทำให้ลูกตาแตกหรือทะลุมาก่อน
  3. จอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาดที่จอตา (Exudative) เกิดจากการอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ทำให้มีน้ำรั่วซึมขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคคอรอยด์อักเสบ เนื้องอกที่จอประสาทตา หรือพบในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ ภาวะไตวาย เป็นต้น

ใครมีโอกาศเป็นโรคนี้สูง

จอประสาทลอกสามารถเกิดได้ทุกอายุ แต่จะพบบ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโอกาศเป็นมากได้แก่
  • สายตาสั้นมาก
  • เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน
  • มีประวัติครอบครัวที่จอประสาทตาลอก
  • ผ่าตัดต้อกระจก
  • เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
  • เป็นโรคตา เช่น retinoschisis, uveitis, degenerative myopia, or lattice degeneration

อาการของจอประสาทลอก

เริ่มต้นของผู้ป่วยที่มีจอประสาทตาลอก พบได้ตั้งแต่
  • มองเห็นจุดดำลอยไปมาและเป็นมากขึ้น
  • มองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ
  • ภาพบางส่วนหายไป เป็นต้น
ดังนั้นผู้ที่มีอาการดังกล่าวจึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจจอประสาทตาโดยละเอียด ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากภาวะผิดปกติชนิดใด และต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีใด
  • หากจักษุแพทย์ตรวจพบรูขาดที่จอประสาทตา และยังไม่มีจอประสาทตาลอก อาจให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์รอบรอยขาด
  • หากพบมีการลอกตัวของจอประสาทตา การรักษาอาจมีตั้งแต่การฉีดกาซเข้าไปในตา การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา และการทำผ่าตัดน้ำวุ้นตา ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

เยื่อบุตาอักเสบอาจจะเกิดจากภูมิแพ้หรือเกิดจากการติดเชื้อโรคก็ได้ อาการทางภูมิแพ้มักจะเกิดที่ตาเนื่องจากตาเป็นอวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก เส้นเลือดเหล่านี้ตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ได้ง่าย และที่สำคัญตาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ เยื่อบุตาจะบวม
เมื่อคุณได้รับสารก่อภูมิแพ้เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่น รังแคสัตว์ ยา ควันบุหรี่ สารภุมิแพ้เหล่านั้นจะละลายในน้ำตา และกลับสู่เยื่อบุตาซึ่งจะสร้างสารต่อต้านสารภูมิแพ้ที่เรียกว่า Antibody IgE เมื่อภูมิจับกับ antibody จะเกิดการหลั่งสารหลายอย่างทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้น ตาของคุณก็จะมีอาการเคือง แดงและมีน้ำตาไหล หนังตามักจะปกติ การมองเห็นจะปกติ และไม่แนะนำให้ใส่ contact lens เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย
ชนิดของเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้
Seasonal allergic conjunctivitis
  • เป็นเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุด
  • มักจะมีอาการน้ำมูกไหลร่วมด้วย
  • อาการที่สำคัญคือ มีน้ำตาไหล เคืองตา
  • มักจะเป็นกับตาสองข้าง
  • อาการมักจะเป็นตามฤดูกาล
Perrennial allergic conjunctivitis 
  • เป็นการเกิดภูมิแพ้ที่เกิดจากสารภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นตลอดปี
  • พบได้น้อยกว่าชนิดแรก
  • อาการมักจะน้อกว่าชนิดแรก
Atopic Keratoconjuntivitis
  • มักจะพบร่วมกับผื่น atopic ของผิวหนังที่หนังตา และหน้า
  • อาการที่พบร่วมคือ ตาแดง เคืองตา คัน น้ำตาไหล
ลักษณะสำคัญที่บ่งบอกเยื่อบุตาอักเสบเกิดจากภูมิแพ้
  • อาการคันในทาเป็นอาการที่สำคัญ หากติดเชื้อจะเป็นอาการปวดแสบร้อน
  • น้ำตาจะเป็นน้ำใส หากติดเชื้อจะเป็นเมือกหรือหนอง
  • มักจะมีการอักเสบของเปลือกตา
  • ผู้ป่วยมรประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว
การป้องกัน
ควรจะหลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ เช่นไม่ไปเดินในที่มีเกสรดอกไม้ ไม่ไปในที่มีควันบุหรี่ กอฟาง
การดูแลตัวเอง
เมื่อเกิดอาการเคืองตาและสงสัยว่าเกิดจากภูมิแพ้ควรจะหลีกเลี่ยงจากสิ่งก่อภูมิแพ้ทันที อาจจะซื้อน้ำตาเทียมซึ่งจะทำให้ลดอาการบวมและชะล้างสารก่อภูมิแพ้ ใช้ผ้าเย็นปิดตาเพื่อลดอาการบวม อาจจะซื้อยาแก้แพ้รับประทาน หากดูแลตัวเองแล้วยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ซึ่งจะให้ยาหยอดตาแก้แพ้
  • หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้
  • บางครั้งอาจจะต้องใช้น้ำสะอาดล้างตา
  • ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม
การใช้ยาเพื่อรักษา
  • ใช้ยาแก้แพ้ antihistamine ซึ่งใช้ได้ทั้งชนิดยาหยอดตาและยารับประทาน
  • ยาหยอดตาเพื่อให้หลอดเลือดหดตัวเพื่อลดอาการบวมของเยื่อบุตา
  • ยาหยอดตา steroid






จอประสาทตาลอก Retina detachment


จอประสาทตาลอกจากที่เคยอยู่ สาเหตุเกิดจากรูหรือรอยฉีกขาด หรือเกิดจากการดึงรั้งของผังผืด หรือการอักเสบทำให้มีน้ำเซาะจนจอประสาทลอก อาการที่สำคัญคือจะเห็นจุดดำลอยไปมา ร่วมกับการเห็นแสงเหมือนไฟแล็บ และมองไม่เห็นบางส่วนของภาพ
ตา



จอประสาทตา

จอประสาทตา Retina เป็นชั้นในสุดของลูกตา ประกอบด้วยเซลหลายชนิดเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ มีหน้าที่รับแสงที่ผ่านเข้ามาจากภายนอก โดยผ่านกระจกตา เลนส์ตาที่ทำหน้าที่รวมแสง ให้ไปตกที่จอประสาทตา จากนั้นที่จอประสาทตา จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาทางเคมี เปลี่ยนสัญญาณแสง ให้กลายเป็นกระแสประสาท แล้วส่งไปตามเส้นประสาทตาคู่ที่2 เข้าสู่สมอง เพื่อแปลผลเป็นภาพต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบลูกตากับกล้องถ่ายรูป จอประสาทตาจะเทียบได้กับฟิล์ม ที่ทำหน้าที่รับภาพ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตา จึงมีผลทำให้การเห็นภาพผิดไป หรืออาจทำให้เสียการมองเห็นไปทั้งหมดก็ได้

จอประสาทตาลอกจอประสาทตาลอก

หมายถึงภาวะที่เกิดการแยก หรือลอกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม โดยมีรูปแบบและสาเหตุการเกิดได้หลายประการ ได้แก่
  1. จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรู หรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา (rhegmatogenous retinal detachment) ทำให้มีน้ำไหลเข้าเกิดการแยกของจอประสาทตา สาเหตุมักเกิดจากการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงที่ตา จอประสาทตาเสื่อมในผู้ป่วยสายตาสั้น หรือเกิดรูขาดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ เป็นสาเหตุของจอประสาทตาลอกบ่อยที่สุด
  2. จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง (tractional retinal detachment) เกิดจากการดึงรั้งของพังผืดที่จอประสาทตาหรือในน้ำวุ้นตา ทำให้จอประสาทตาหลุดลอก พบไม่บ่อย มักพบในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอรับภาพระยะท้ายซึ่งมีเส้นเลือดงอกผิดปกติ ที่จอรับภาพ และมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของน้ำวุ้นลูกตา หรือจอประสาทตาอย่างรุนแรงจนเกิดชั้นพังผืด หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับอุบัติเหตุทำให้ลูกตาแตกหรือทะลุมาก่อน
  3. จอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาดที่จอตา (Exudative) เกิดจากการอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ทำให้มีน้ำรั่วซึมขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคคอรอยด์อักเสบ เนื้องอกที่จอประสาทตา หรือพบในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ ภาวะไตวาย เป็นต้น

ใครมีโอกาศเป็นโรคนี้สูง

จอประสาทลอกสามารถเกิดได้ทุกอายุ แต่จะพบบ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโอกาศเป็นมากได้แก่
  • สายตาสั้นมาก
  • เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน
  • มีประวัติครอบครัวที่จอประสาทตาลอก
  • ผ่าตัดต้อกระจก
  • เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
  • เป็นโรคตา เช่น retinoschisis, uveitis, degenerative myopia, or lattice degeneration

อาการของจอประสาทลอก

เริ่มต้นของผู้ป่วยที่มีจอประสาทตาลอก พบได้ตั้งแต่
  • มองเห็นจุดดำลอยไปมาและเป็นมากขึ้น
  • มองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ
  • ภาพบางส่วนหายไป เป็นต้น
ดังนั้นผู้ที่มีอาการดังกล่าวจึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจจอประสาทตาโดยละเอียด ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากภาวะผิดปกติชนิดใด และต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีใด
  • หากจักษุแพทย์ตรวจพบรูขาดที่จอประสาทตา และยังไม่มีจอประสาทตาลอก อาจให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์รอบรอยขาด
  • หากพบมีการลอกตัวของจอประสาทตา การรักษาอาจมีตั้งแต่การฉีดกาซเข้าไปในตา การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา และการทำผ่าตัดน้ำวุ้นตา ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย






โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ retinopathy

โรคแทรกซ้อนทางตาที่เกิดจากโรคเบาหวานมี ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทจอรับภาพเสื่อมหรือประสาทจอรับภาพขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการมองไม่เห็น
การดูแลที่สำคัญคือการตรวจตาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ Diabetes retinopathy เป็นอย่างไร
เป็นโรคเบาหวานที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จอรับภาพ retina โดยมีการทำลายหลอดเลือดบนจอภาพ ซึ่งหากเป็นมากอาจจะมีผลต่อการมองเห็น

โรคเบาหวานขึ้นจอรับภาพเกิดได้อย่างไร

คนที่เป็นเบาหวานมานานจะมีการทำลายหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดบางส่วนไม่แข็งแรงซึ่งทำให้เกิดผลตามมาดังนี้
  • ผนังหลอดเลือดบางส่วนโป่งออกมาเรียก Aneurysm
  • มีการรั่วของน้ำออกจากผนังหลอดเลือดเรียก Exudate
  • อาจจะมีเลือดออกที่จอรับภาพเรียก Haemorrhage
  • เส้นเลือดบางส่วนตีบตันทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ
  • มีการงอกของเส้นเลือดใหม่เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือด เรียก proliferative ปัญหาคือเส้นเลือดที่งอกใหม่จะไม่แข็งแรงแตกได้ง่ายซึ่งจะเป็นสาเหตุของตาบอด

ผู้ที่เบาหวานขึ้นจอรับภาพจะมีอาการอย่างไรบ้าง

ผู้ที่เบาหวานขึ้นจอรับภาพส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไร แต่โรคจะค่อยดำเนินจนหากเป็นมากจะกระทบกับการมองเห็นจนกระทั่งตาบอด แต่อาจจะมีอาการดังต่อไปนี้
  • ตามองไม่ชัด
  • เห็นเศษชิ้นส่วนลอยในตา
  • มีปัญหาเวลามองกลางคืน
  • มองเห็นจุดดำ
  • แยกสีไม่ชัดเจน

เบาหวานขึ้นจอรับภาพมีกี่ชนิด

ขึ้นกับว่ากระทบกับส่วนใดของจอรับภาพ แบ่งออกเป้น
การเปลี่ยนของจอรับภาพเนื่องจากเบาหวานจะพบได้เกือบทุกรายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 และพบร้อยละ60ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2เมื่อวินิจฉัยได้ครั้งแรกพบว่าก็มีการเปลี่ยนแปลงทางจอรับภาพแล้วร้อยละ21 การเปลี่ยนแปลงทางจอรับภาพที่พบได้แก่
Mild nonproliferative [increase permeability]
ผู้ป่วยไม่มีอาการ ตามองเห็นปกติ ตรวจทางจอรับภาพ จะพบ มีการโป่งพองของหลอดเลือด [microaneurysm],  หลอดเลือดที่โป่งพองจะควบคุมการไหลของสารน้ำไม่ได้เกิด[ hard exudate] ,นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมของจอรับภาพ [macular edema] และ  dot  hemorrhage    

2  moderate to severe nonproliferative [NPDR ,vascular closer] จอรับภาพจะมีการขาดเลือดเพิ่ม มีการหลั่งของเหลวในจอรับภาพ cotton-wool spot,venous dilatation

3 proliferative diabetic retinopathy [new blood vessel on retina]  หลอดเลือดที่จอรับภาพเสียหายทำให้มีการสร้างหลอดเลือดขึ้นใหม่ หลอดเลือดใหม่นี้ไม่แข็งแรงทำให้มีเลือดออกและมองไม่เห็น [vitreous hemorrhage] หลอดเลือดใหม่ทำให้เกิดพังผืด [scar] และเมื่อพังผืดบิดตัวทำให้เกิดการแยกของจอรับภาพและประสาทตา [ retinal detachment] ตาจะบอด 


macular
4 Macula edema  
Macular จะเป็นส่วนของจอรับภาพที่ชัดที่สุด โรคเบาหวานจะทำให้บริเวณนี้บวมส่งผลทำให้เห็นไม่ชัด

การตรวจตาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่1 อายุมากกว่า 10 ปี และเป็นเบาหวานมาแล้วอย่างน้อย 5 ปีควรจะได้รับการตรวจจอรับภาพทุกคน
  • ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 ควรจะได้รับการตรวจจอประสาทตาหลังจากวินิจฉัยโรคเบาหวาน
  • การติดตามขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของจอรับภาพ หากปกติอาจจะติดตามทุก2-3ปี หากผิดปกติต้องติดตามถี่ขึ้น
  • การใช้กล้องถ่ายภาพก็เป็นช่องทางหนึ่งในการติดตาม
  • สตรีที่เป็นเบาหวานหากจะตั้งครรภ์ต้องตรวจจอรับภาพ




โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ retinopathy


โรคแทรกซ้อนทางตาที่เกิดจากโรคเบาหวานมี ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทจอรับภาพเสื่อมหรือประสาทจอรับภาพขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการมองไม่เห็น
การดูแลที่สำคัญคือการตรวจตาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาเบาหวานเข้าจอประสาทตา




โรคต้อเนื้อและต้อลม

โรคต้อเนื้อหรือต้อลมเป็นภาวะเนื้อเยื่ยบุตามีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อม เนื่องจากการถูกสิ่งระคายเคืองมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดเนื้อเยื่อขาวที่ตาขาวเรียกว่าต่อเนื้อ หากยังสัมผัสสิ่งระคายเคืองอย่างต่อเนื่องก็จะกลายเป็นต้อเนื้อซึ่งจะเป็นก้อนเนื้อสีแดง ปรกติต้อเนื้อและต้อลมจะอยู่เฉพาะตาขาว แต่หากรุนแรงก็จะลามเข้าตาดำซึ่งจะทำให้เกิดตามัว

สาเหตุของต้อเนื้อต้อลม

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ แต่โรคนี้มักจะพบในคนที่กลางแจ้ง แสงแดดมากจึงเชื่อว่าปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อการเกิดโรคนี้
  • แสงแดด หรือ แสงอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์
  • ลมแรง
  • สารที่ระคายเคืองต่อตา เช่น ฝุ่น ลม ควัน
  • โรคตาแห้ง

อาการของต้อเนื้อต้อลม

ต้อเนื้อที่เริ่มเป็นมักจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์เนื่องจากมีก้อนเนื้อที่ตาขาว หากเจอลม เจอฝุ่น หรือมีการอักเสบจะมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหล หากอักเสบมากจะมีอาการเคืองตา หากต้อเนื้อเข้าตาดำอาจจะทำให้เกิดตามัว
ต้อเนื้อ
ต้อเนื้อเป็นก้อนเนื้อสีขาว
ต้อเนื้อลามเข้าตาดำ

การรักษาต้อเนื้อต้อลม

โดยทั่วไปต้อลมและต้อเนื้อไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่มีอาการ การดูแลจะต้องป้องกันสิ่งระคายเคืองที่จะมาสัมผัสตา
การใช้ยาหยอดตา
จะใช้ยาหยอดตาในรายที่เป็นไม่มากแต่มีอาการระคายเคืองตา ยาหยอดตาใช้ลดอาการระคายเคือง ลดอาการตาแดง ลดอาการอักเสบ ส่วนผสมของยาส่วนใหญ่จะเป็นยาแก้แพ้ ยาที่ทำให้เส้นเลือดหดตัว และยา Steroid แม้ว่ายา Steroid จะให้ผลการรักษาที่ลดอาการได้เร็ว แต่ไม่แนะนำให้ซื้อยามาหยอดตาเอง และไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากยา เช่น ต้อกระจก ต้อหินซึ่งรุนแรงกว่าต้อเนื้อ
การผ่าตัด
จะตัดต้อเนื้อออกในรายที่ต้อเนื้อลามเข้าตาดำและทำให้ตามัว หากอาการไม่มากไม่แนะนำให้ผ่าตัดเพราะหลังผ่าจะมีโอกาศเกิดซ้ำ การผ่าตัดก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพียงยาชา หลังผ่าสามารถกลับบ้านได้
การป้องกันโรคต้อเนื้อต้อลม
การป้องันโรคทำได้โดยการป้องกันตามิให้กระทบกับสิ่งที่ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา
  • หลีกเลี่ยงการทำงานในที่แสงแดดมาก
  • หลีกเลี่ยงสถานที่มี ลม ฝุ่นมาก
  • ให้สวมหมวกปีกกว้าง และแว่นกันแดดเมื่อจะออกที่แจ้ง
  • หยอดน้ำตาเทียมสำหรับคนที่ตาแห้ง


โรคริดสีดวงตา Trachoma คืออะไร
เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาซึ่งอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนทำให้ตาบอดก่อนวัยได้ สาเหตุที่สำคัญคือเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Chlamydia trachomatis อาการเริ่มต้นจะไม่มาก อาจจะมีอาการระคายเคืองตา และมีหนองอกเล็กน้อย หากมีการติดเชื้อซ้ำอาจจะทำให้เกิดตาบอด
โรคนี้ติดต่ออย่างไร
โรคริดสีดวงตานี้จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัส วิธีติดต่อที่สำคัญคือ
  • สัมผัสโดยตรงกับหนองหรือขี้ตาที่มีเชื้อโรค
  • สัมผัสกับน้ำมูก หรือเสมหะที่มีเชื้อโรค
  • สัมผัสผ่านทางผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
  • แมลงวันก็สามารถนำเชื้อจากคนติดเชื้อไปสู่คนปรกติ
โรคริดสีดวงตามีอาการอย่างไร
อาการเริ่มแรกจะมีการติดเชื้อที่เปลือกตาทำให้เกิดตาแดง น้ำตาไหลมีขี้ตา บางคนจะรู้สึกเหมือนมีผงในตา หากพลิกดูหนังตาจะพบเป็นตุ่มเล็กๆที่เรียกว่า Follicle การติดเชื้อเพียงครั้งเดียวจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อดวงตา หากมีการติดเชื้อซ้ำจะทำให้เกิดการอักเสบของเปลือกตา ทำให้เกิดพังผืดดึงรั้งเกิดแผลเป็นบริเวณขอบเปลือกตาเป็นต้นเหตุให้ขนตาเกเข้า (Trichiasis) ขนตาชี้ลงจนครูดบาดกระจกตา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บตา เคืองตามากขึ้น ตามด้วยมีขี้ตามากขึ้น ขนตาจะทิ่มแทงกระจกตาทำให้เกิดแผลที่กระจกตา keratitis นานเข้าการอักเสบจะลามเข้าถึงในตาทำให้เกิดฝ้าขาว
หนังตาบนอักเสบเห็นเป็นตุ่มๆ
หนังตาบนจะเกิดพังผืด
เริ่มมีพังผืดที่ตาดำจะเห็นเป็นฝ้าขาว
นอกจากนั้นการอักเสบจะทำให้ท่อน้ำตาอุดตันก็จะเกิดตาแห้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตา ทำให้ตามองไม่เห็น
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค
  • สภาพแวดล้อมแออัด นอนรวมกันในห้องนอนหลายคน
  • ขาดแคลนน้ำสะอาด
  • ขาดอุปกรณ์สำหรับการทำความสะอาด
  • มีแมลงวันจำนวนมาก
  • ระบบสาธารณสุขไม่ดี
การวินิจฉัยโรคริดสีดวงตา
การวินิจฉัยจะอาศัยประวัติและการตรวจพบตุ่มที่ใต้หนังตาบน มีพังผืดที่หนังตา กระจกตาเป็นแผล ขึ้นกับระยะของโรค หากสงสัยก็นำขี้ตาไปย้อมและเพาะเชื้อก็จะพบเชื้อที่เป็นสาเหตุ
การรักษา
การผ่าตัด
เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนทิศทางของขนตามิให้ทิ่มแทงกระจกตา
ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะทั้งชนิดหยอดตา และยารับประทาน เป็นยาในกลุ่ม Tetracycline โดยเป็นยารับประทาน 1.5–2 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และเป็นยาขี้ผึ้งป้ายตาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน หรือใช้ยา Erythromycin หากผู้ป่วยแพ้ยาTetracycline ปัจจุบันมีแพทย์บางท่านแนะนำใช้ Agithomycine 2 กรัมเพียงครั้งเดียวก็ได้
การล้างหน้า
การล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค
การจัดการกับสิ่งแวดล้อม
  • จัดหาแหล่งน้ำสะอาด
  • จัดหาสบู่ ผงซักฟอก
  • ลดปริมาณของแมลงวัน
  • ให้ล้างหน้าด้วยน้ำและสบู่่


ตาเขหรือตาเหล่
ตาของคนปกติจะทำงานร่วมกันเสมอ เมื่อมองซ้ายหรือขวาก็จะไปด้วยกันเสมอรวมทั้งการมองขึ้นหรือมองลง ตาเหล่หรือตาเขหมายถึงการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติไม่ได้มองจุดเดียวกันทั้งสองตา
ชนิดของตาเหล่
เวลามองตรงไปข้างหน้าในคนปกติ ตาทั้ง 2 ข้างจะต้องอยู่ตรงกลาง แต่เมื่อตาสองข้างเวลามองตรง
ตาเข
ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่อีกตาเฉออก ซึ่งอาจเฉออกด้านไหนก็ได้ เช่น เฉออกมาที่หัวตา หรือ เฉขึ้นบน เรียกภาวะ หรือ โรคนี้ว่า โรค/ภาวะ ตาเหล่ หรือ ตาเข (Strabismus)
  • ตาข้างหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่ตาอีกข้างกลับหมุนเข้าใน เรียกภาวะนี้ว่า ตาเหล่เข้าใน (Esotropia) เป็นตาเหล่ที่พบบ่อยที่สุด
  • ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งกลอกออกมาทางหางตาหรือออกนอก เรียกว่า ตาเหล่ออกนอก (Exotropia)
  • ตาเหล่ขึ้นบน (Hypertropia)
  • ตาเหล่ลงล่าง (Hypotropia)
นอกจากนั้นตาเหล่อาจจะเป็นชั่วคราว Intermittent หรือตาเหล่ถาวร Constant ผู้ป่วยที่ตาเหล่ชั่วคราวมักจะเป็นมากชั่วที่ตาอ่อนล้า เช่นตอนสายของวัน หรือขณะป่วย หรือบางรายผลัดกันเข บางครั้งเป็นตาขวา บางครั้งเป็นตาซ้ายเรียกว่า alternate strabismus
มีอีก 2 สภาวะที่คล้ายตาเหล่มาก ได้แก่ ตาเหล่ซ่อนเร้น (Phoria) และตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus)
ตาเหล่ซ่อนเร้น (Phoria)
ตาเหล่ซ่อนเร้น บางคนเรียกว่า ตาส่อน เป็นภาวะที่ถ้าลืมสองตา ตาทั้ง 2 ข้างจะอยู่ตรงกลางดี เวลาที่ร่างกายอ่อนเพลียหรือเอาอะไรมาบังตาข้างหนึ่งเสีย ตาข้างที่ถูกบังจะเบนออกจากตรงกลาง แต่ถ้าเอาที่บังตาออก ตาข้างนั้นจะกลับมาตรงได้ใหม่ อาจเรียกว่า ความต้องการในการมองเห็นภาพเป็นภาพเดียวกันมีสูง สามารถบังคับให้ตาที่เขกลับมาตรงได้ ภาวะนี้มักจะไม่มีปัญหาอะไร อาจเป็นเหตุให้มีอาการเมื่อยตา ตาล้า ง่ายกว่าคนทั่วไปเวลาใช้สายตามากๆ ซึ่งแก้ไขได้โดยการฝึกกล้ามเนื้อตา
ตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus)
สำหรับตาเหล่เทียม พบในเด็กที่สันจมูกกว้างยังแบนราบกับผิวหนังทำให้เก็นตาขาวน้อย และบริเวณหัวตากว้าง (Epicanthus) จึงแลดูคล้ายตาเหล่เข้าใน เมื่อเด็กโตขึ้นสันจมูกมีดั้งสูงขึ้น ภาวะคล้ายตาเหล่นี้จะหายไป
สาเหตุของโรคตาเหล่ที่พบบ่อย
สาเหตุของตาเหล่ยังไม่ทราบแน่ชัด
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่นสายตายาว สายตาสั้น หรือตามัว จะทำให้มีการปรับตัวเกิดตาเหล่
  • โรคประจำตัวของเด็กเช่น  cerebral palsy, Down syndrome, hydrocephalus และเนื้องอกสมอง brain tumor ก็พบว่ามีตาเหล่มาก
  • สำหรับผู้ใหญ่พบว่าสาเหตุของตาเหล่ได้แก่ การเป็นอัมพาต อุบัติเหตุ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
อาการของตาเหล่
  • มองเห็นตาเฉออกชัดเจน
  • ตาไม่เคลื่อนไหวไปในแนวทางเดี่ยวกัน
  • กระพริบตาบ่อยโดยเฉพาะแสงจ้าๆ
  • เอียงคอเวลามอง
  • กะระยะผิด
  • เห็นภาพซ้อน
การวินิจฉัยโรคตาเหล่
การวินิจฉัยจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วย หากตาเหล่ชัดเจนก็สามารถเห็นได้ด้วยการตรวจตา แต่ในรายที่ไม่ชัดอาจจะต้องการตรวจเพิ่มเติม
  1. การตรวจการมองเห็นและการตรวจสายตา
  2. การตรวจ  light reflex testing โดยการให้มองแหล่งกำเนิดแสงที่วางห่างออกไปประมาณ 3 ฟุต ให้ตรวจดูแสงที่ม่านตา หากแสงตกที่บริเวณม่านตาสมดุลสองข้างแสดงว่าไม่มีตาเหล่ หากแสงตกไม่สมดุลแสดงว่ามีตาเหล่ ระยะทางที่ไม่สมดุลจะสอดคล้องกับความรุนแรงของตาเหล่
  3. การตรวจ cover testing โดยการให้มองนิ่งไปที่วัตถุ และนำกระดาษมาบังตาข้างหนึ่ง ให้สังเกตตาที่มอง หากมีการเคลื่อนที่ของตาที่มองเมื่อมีการบัง แสดงว่ามีตาเหล่
  4. การตรวจ prism and cover testing prism เป็นก้อนสามเหลี่ยมมีหน้าที่หัเหแสง เมื่อนำมาใช้กับการตรวจ 2 ก็จะบอกความรุนแรงของตาเหล่
รักษาผู้ป่วยตาเหล่
เป้าหมายของการรักษาคือแก้ไขความพิการเพื่อให้การมองเห็นดีขึ้นการรักษาขึ้นกับสาเหตุ เช่นการใส่แว่นตา การบริหารกล้ามเนื้อตา การใช้แท่ง prism การผ่าตัดซึ่งจะทำหลังจากการรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล
  • แก้ปัญหาเรื่องสายตา เช่นตาสั้น ตาเอียง สายตายาว ก่อนที่จะเกิดตาเหล่
  • ใช้แว่นตา prism การบริหารกล้ามเนื้อตาในการแก้ไข
  • การผ่าตัด






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น